วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2551

ขั้นตอนการจัดนิทรรศการและทำอธิบาย

ขั้นตอนในการจัดนิทรรศกา
......มีขั้นตอนในการดำเนินงานอย่างน้อย 4 ขั้นตอนเหมือนกันคือ ขั้นการวางแผน (planning stage) ขั้นปฏิบัติการผลิตสื่อและติดตั้ง (media production stage) ขั้นการนำเสนอ (presentation stage) และขั้นการประเมินผล (evaluation stage) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้.1.ขั้นการวางแผน
......ทำอะไร หรือจะจัดกิจกรรมอะไร คณะผู้ดำเนินงานต้องระบุชื่อหรือประเภทของกิจกรรมนั้น ๆ ให้ชัดเจน เช่น การจัดนิทรรศการ การจัดจุลนิทัศน์ การรณรงค์ การจัดมหกรรม การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
.....ทำไปทำไม หรือจะจัดเพื่ออะไร เมื่อกำหนดว่าจะทำกิจกรรมอะไร ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรมนั้นเป็นสำคัญ เช่น การจัดจุลนิทัศน์แสดงสินค้าเพื่อส่งเสริมการขาย การจัดนิทรรศการวันมาฆบูชาเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมพุทธศาสนา การจัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์เพื่อรักษาประเพณีอันดีงามของไทย เป็นต้น
......ทำที่ไหน สถานที่หรือบริเวณอยู่ที่ไหนห่างไกลจากชุมชนกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ การคมนาคมสะดวกมากน้อยเพียงใด
......ทำเมื่อใด หรือกิจกรรมนั้นจะจัดขึ้นเมื่อใด อาจเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ วันเปิดอาคารใหม่ วันต้อนรับอาคันตุกะที่สำคัญ หรือจัดระหว่างวันเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันสำคัญทางศาสนา ฯลฯ
......ทำเพื่อใคร หรือใครคือกลุ่มเป้าหมายหลักที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมนิทรรศการที่จัดขึ้นแต่ละครั้ง ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการจัดนิทรรศการ มีอิทธิพลต่อการกำหนดองค์ประกอบอื่น ๆ แทบทุกด้าน
......ทำอย่างไรหรือจะจัดกิจกรรมอย่างไร เป็นคำถามสุดท้ายที่สำคัญที่สุดซึ่งจะนำไปสู่ การลงมือปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ให้มีประสิทธิภาพทำได้อย่างไร......นอกจากคำถามพื้นฐานสำคัญในการวางแผนทั่ว ๆ ไปดังกล่าว อาจวางแผนโดยยึดหลักการบริหาร
......การวางแผนในการจัดนิทรรศการที่สำคัญได้แก่ การวางแผนเกี่ยวกับผู้ชม การวางแผนเกี่ยวกับเรื่องและเนื้อหา
......เมื่อประมวลคำถามและแนวความคิดเกี่ยวกับการวางแผนดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่าในขั้นการวางแผน ควรมีการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาในเรื่องการตั้งวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและกิจกรรม สถานที่ เวลา งบประมาณ การออกแบบนิทรรศการ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบและการประชาสัมพันธ์
___1. การตั้งวัตถุประสงค์
______การจัดนิทรรศการเพื่อจำหน่ายสินค้า
______การจัดนิทรรศการเพื่อเปิดตัวและแนะนำสินค้า
______การจัดนิทรรศการทางการศึกษา­­
______การจัดนิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
___2. กลุ่มเป้าหมาย
______เพศ
______วัย
______ระดับการศึกษา
______อาชีพ
______ความเชื่อ
______สภาพเศรษฐกิจ
______สถานภาพทางสังคม
___3. เนื้อหาและกิจกรรม
______กลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการ
______กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา
______กลุ่มเป้าหมายเป็นชาวนา
______กลุ่มเป้าหมายเป็นนักธุรกิจ
___4. ระยะเวลา
___5. สถานที่
______ทำเลที่ตั้ง
______บริเวณขอบเขต
______งบประมาณ
______ค่าสถานที่
______ค่าไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์สำหรับแสงสว่างทั่วไป
______ค่าใช้จ่ายด้านโสตทัศนูปกรณ์
______ค่าใช้จ่ายในการจัดหาสื่อในการจัดแสดง
______ค่าวัสดุประกอบการตกแต่งและติดตั้ง
______ค่าวัสดุที่ใช้ในการผลิตและตกแต่ง
______ค่าจัดทำเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
______ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อมวลชนต่าง ๆ
______ค่าใช้จ่ายสำหรับกิจกรรมประกอบทุกประเภท
______ ค่าพาหนะขนส่งและค่าน้ำมันเชื้อเพลิ
______ ค่าอาหาร น้ำดื่ม
______ ค่าบริการทางด้านสาธารณูปโภค
______ ค่าใช้จ่ายในฝ่ายพิธีการ
______ ค่าใช้จ่ายสำรองในกรณีฉุกเฉินที่ต้องแก้ปัญหา
______ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
___6. การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ
______ฝ่ายควบคุมนิทรรศการ
______ฝ่ายศิลปกรรม
______ฝ่ายช่าง
______ฝ่ายวิชาการ
______ฝ่ายการเงิน
______ฝ่ายสถานที่
______ฝ่ายประชาสัมพันธ์
______ฝ่ายประเมินผล
______ฝ่ายพิธีการ
______ ฝ่ายประสานงาน
2. ขั้นปฏิบัติการผลิตสื่อและติดตั้ง
___2.1 การออกแบบในงานนิทรรศการ การออกแบบเป็นหัวใจสำคัญในการจัดนิทรรศการ ช่วยให้งานดูโดดเด่นกระตุ้นความสนใจ
______การออกแบบโครงสร้าง ได้แก่โครงสร้างทางกายภาพของงานนิทรรศการทั้งหมด ซึ่งได้แก่โครงสร้างของพื้นที่ที่ใช้ในการจัดแสดงและสิ่งก่อสร้างต่างๆ
______การออกแบบตกแต่ง เป็นการออกแบบเพื่อทำให้งานนิทรรศการมีความโดดเด่น สวยงาม ดึงดูดความสนใจ และสื่อความหมายกับผู้ชม
______การออกแบบสื่อ 2 มิติ เป็นสื่อประเภทงานกราฟิกที่ใช้ในการเสนอเนื้อหาเพื่อถ่ายทอดให้ผู้ชมเกิดการเรียนรู้โดยตรง
______การออกแบบสื่อ 3 มิติเป็นการสร้างสรรค์สื่อที่มีทั้งความกว้างความยาวและความหนา
______การออกแบบสื่อประสมหรือสื่อมัลติมีเดีย ปัจจุบันการออกแบบและการนำเสนอผลงานทำได้สะดวกรวดเร็วโดยใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการดำเนินงาน
______การออกแบบสื่อกิจกรรม เป็นสื่อการแสดงที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมหรือบุคคลในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และการนำเสนอ
___2.2 การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ การจัดนิทรรศการแต่ละครั้งต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก เช่น อุปกรณ์หลักในการจัดสถานที่ อุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง อุปกรณ์เกี่ยวกับแสงเสียงและไฟฟ้า วัสดุอุปกรณ์เพื่อการแสดงและตกแต่ง โสตทัศนวัสดุ
___2.3 การลงมือติดตั้งสื่อต่าง ๆ เป็นขั้นจัดวางสิ่งของวัสดุอุปกรณ์ให้เป็นไปตามผังที่ออกแบบไว้แล้ว การดำเนินงานในขั้นนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากฝ่ายต่าง ๆ เช่น ฝ่ายวิชาการ ช่างศิลป์ ช่างไม้ ช่างไฟฟ้า ช่างเทคนิคด้านโสตทัศนูปกรณ์ เป็นต้น
___2.4 การควบคุมดูแลความปลอดภัย เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ชมได้รับอันตรายใด ๆ จากการเข้าชมนิทรรศการ
.3. ขั้นการนำเสนอ......ในขั้นนี้เป็นการแสดงเนื้อหาข้อมูลหรือสื่อต่าง ๆ ให้ผู้ชมได้รับรู้ ทดลอง จับต้องหรือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่วางแผนออกแบบและติดตั้งไว้ โดยทั่วไปประกอบด้วย พิธีเปิดนิทรรศการ การนำชม ดำเนินกิจกรรมและการประชาสัมพันธ์ภายใน เป็นต้น
___1.1 พิธีเปิดนิทรรศการ สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมในพิธีเปิด คือ เครื่องขยายเสียงคุณภาพดี แท่นยืนสำหรับประธาน คำกล่าวรายงานของผู้รายงาน และคำกล่าวเปิดงานสำหรับประธานในพิธี หากเป็นไปได้คำกล่าวเปิดงานควรเสนอต่อประธานเพื่ออ่านก่อนถึงพิธีเปิดจะเป็นผลดียิ่ง
___1.2 การนำชมและดำเนินกิจกรรม หลังจากพิธีเปิดเสร็จสิ้นลง คณะผู้จัดนิทรรศการนำประธานและผู้เข้าชมเดินชมนิทรรศการตามจุดสำคัญ ๆ ของงาน แต่ละจุดมีพิธีกรบรรยายถ่ายทอดความรู้ที่จัดแสดง ตลอดจนให้คำแนะนำหรือตอบคำถามจากผู้ชม
___1.3 การประชาสัมพันธ์ภายใน เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ชมในการเข้าชมนิทรรศการด้วยสื่อหลายชนิด เช่น ป้ายผังรวมของงานหรือแผ่นปลิวบอกตำแหน่งที่ตั้งของแต่ละหน่วยงาน .4. ขั้นการประเมินผล
......การประเมินผลเป็นงานสุดท้ายที่มีความสำคัญที่สุดของการปฏิบัติงานทุกชนิด เพราะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานแต่ละครั้ง___1.1 การประเมินภายในจากกลุ่มผู้จัด
___1.2 การประเมินจากกลุ่มผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมาย.แนวทางการจัดนิทรรศการที่ดี
___1. เนื้อหาที่นำมาจัดนิทรรศการต้องตรงกับความสนใจและมีความหมายต่อการเรียนรู้ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
___2. เนื้อหาที่จัดแสดงในจุดหนึ่ง ๆ ควรมีจุดมุ่งหมายเดียวหรือแนวคิดเดียว แสดงออกถึงความมีเอกภาพทั้งด้านเนื้อหา ความรู้ ความคิด และองค์ประกอบทางกายภาพ___3. ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าการจัดนิทรรศการที่ดีต้องจัดให้ผู้ชมดู
___4. ตัวหนังสือที่ใช้ในการจัดนิทรรศการควรเป็นแบบเดียวกัน สวยงามเหมาะสมกับเนื้อหา
___5. การออกแบบควรมีลักษณะง่ายสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ยากให้ดูง่าย
___6. การจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ดีจะช่วยกระตุ้นความสนใจและสื่อความหมายกับผู้ชมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
___7. พึงระวังอย่างให้การจัดแสดงผลงานที่ใช้เวลาในการเตรียมมานานกลายเป็นนิทรรศการ “ตาย”
___8. สื่อที่ใช้ในการจัดนิทรรศการควรมีหลายประเภท
___9. วัสดุที่นำมาสร้างสรรค์สื่อเพื่อนำเสนอในนิทรรศการควรมีคุณสมบัติสอดคล้องเป็นหมวดเดียวกับเนื้อหา
___10. สื่อหรือสิ่งของที่นำมาจัดแสดงหากไม่เป็นอันตรายต่อผู้ชม
___11. สถานที่ในการจัดนิทรรศการควรมีลักษณะโดดเด่น
___12. แสงและอากาศเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการจัดนิทรรศการ ผู้จัดต้องแน่ใจว่าการจัดนิทรรศการแต่ละครั้งมีแสงสว่างและอากาศดีเพียงพอ อาจจะเป็นแสงธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟ ก็ได้.ความล้มเหลวของการจัดนิทรรศการ
___1. ขาดการวางแผนที่ดี
___2. ขาดการประสานที่ดีระหว่างผู้บริหารหรือเจ้าของงานกับผู้ปฏิบัติงาน
___3. มีเวลาในการเตรียมและการดำเนินงานน้อยเกินไป
___4. การจัดนิทรรศการไม่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
___5. การจัดนิทรรศการไม่เหมาะกับเหตุการณ์หรือเทศกาล
___6. ขาดการออกแบบที่ดี
___7. ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี
___8. ขาดงบประมาณสนับสนุน
___9. มีความบกพร่องทางเทคนิคบางประการ
___10. สถานที่จัดอยู่ห่างไกลจากชุมชนกลุ่มเป้าหมาย

2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

1xBet Korean casino is illegal in South Korea - KROKER
1xbet korean casino is illegal in South Korea. Find out if 1xbet korean casino is 1xbet зеркало legal in South Korea. Best sports betting and bonus.

adalgisoxia กล่าวว่า...

Is it true that the gaming sector has been "devastated" by
The online 서산 출장샵 gambling industry is 동해 출장샵 expected to be hit by 10% revenue 고양 출장마사지 in 2020, 구미 출장마사지 followed 사천 출장안마 by a further 2% by 2021. The Gambling and Gaming

บทที1

บทที่ 1
บทนำเกี่ยวกับการจัดแสดงและนิทรรศการปัจจุบันการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์มีหลายวิธีและหลายรูปแบบแตกต่างกัน วิธีดำเนินการมีทั้งทางตรงและทางอ้อมการจัดแสดงและนิทรรศการเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการเผยแพร่ความรู้ ทัศนคติ ประสบการณ์ และการประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลทั้งในวงการการศึกษา การเมือง ธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชนความหมายของการจัดแสดง ในวงการการศึกษามีผู้ให้ความหมายและอธิบายคำว่าการจัดแสดง (display)ไว้หลายทรรศนะดังนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 อธิบายคำว่า “จุลนิทัศน์” ว่ามาจากคำว่า จุล กับ นิทัศน์จุล (ว.) เล็ก น้อย ใช้นำหน้าคำสมาสนิทัศน์(น.)ตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นอุทาหรณ์คำว่าอุทาหรณ์หมายถึง ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาอ้างให้เห็นสิ่งหรือเรื่องที่ยกขึ้นมาเทียบเคียงเป็นตัวอย่างสรุปได้ว่า จุลนิทัศน์ หรือการจัดแสดง หมายถึง สิ่งหรือเรื่องที่ยกมาแสดงเพียงเล็กน้อยพอให้เห็นเป็นตัวอย่างคำว่า “display” แปลว่า “การจัดแสดง” สรุปได้ว่าการจัดแสดงหรือจุลนิทัศน์ หมายถึง นิทรรศการขนาดเล็กมากที่นำเสนอข้อมูลวัตถุสิ่งของผลงานสินค้าหรือผลิตภัณฑ์บางส่วนพอเป็นตัวอย่างในสถานที่ที่มีการตกแต่งไว้อย่างสวยงามและเหมาะสมโดยเน้นเป็นพิเศษเพื่อเร้าใจให้ผู้ชมเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ความหมายของนิทรรศการนิทรรศการ เป็นการรวบรวมสิ่งของและวัสดุเป็นชุด ๆ เพื่อขมวดความคิดตาวัตถุประสงค์ทางการศึกษาหากเป็นกิจกรรมด้านการค้าการจัดนิทรรศการเป็นการแสดงผลงานสินค้า ผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมให้คนทั่วไปชมสรุปได้ว่า นิทรรศการ หมายถึงการจัดแสดงข้อมูลเนื้อหาผลงานต่าง ๆ ด้วยวัสดุ สิ่งของ อุปกรณ์และกิจกรรมที่หลากหลายแต่มีความสัมพันธ์กันในแต่ละเรื่องโดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีการวางแผนและออกแบบที่เร้าความสนใจให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการดูการฟังการสังเกต การจับต้องและการทดลองด้วยสื่อที่หลากหลาย ประวัติของการจัดแสดง ส่วนสำคัญของประวัติการจัดแสดงที่ควรกล่าวถึงได้แก่ ที่มาของความคิดในการจัดแสดงและการจัดแสดงเพื่อการศึกษาในประเทศไทย
1. ที่มาของความคิดในการจัดแสดงยุคก่อนประวัติศาสตร์มนุษย์เริ่มรู้จักออกแบบตกแต่งที่อยู่อาศัยภายในถ้ำรู้จักแบ่งพื้นที่ในการใช้สอยอย่างหยาบ ๆ คร่าว ๆ
2. การจัดแสดงเพื่อการศึกษาในประเทศไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยพบว่าสมัยกรุงสุโขทัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยไว้บนหลักศิลาจารึกซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมบรรจุตัวอักษรไว้ทั้ง4 ด้านพระราชวรมุนี ประวัติของนิทรรศการการจัดนิทรรศการเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับมนุษยชาติ แต่ในยุคแรกเริ่มอาจจะยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนแน่นอน ในยุคก่อนประวัติศาสตร์คงไม่มีชื่อเรียกว่านิทรรศการ หรือ exhibition, fair, expo แต่อย่างใด อาจเป็นเพียงการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ไว้ในที่ที่เคยวางเป็นประจำ การวาดภาพตามผนังถ้ำเพื่อถ่ายทอดความเชื่อ การนำสินค้ามาจัดแสดงเพื่อการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขาย ดังนั้นการนำเสนอประวัติของนิทรรศการจึงประกอบด้วยรายละเอียดตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการจัดนิทรรศการจนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งภาพแสดงประวัติของนิทรรศการ ดังต่อไปนี้
1. จุดเริ่มต้นของการจัดนิทรรศการ 2. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในยุคโบราณ
3. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในยุคกลางและยุคหลัง
4. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในประเทศอังกฤษ
5. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในประเทศรัสเซีย
6. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในประเทศเยอรมันการจัดเทศกาลแสดงสินค้าทางการเกษตรในประเทศอเมริกา
7. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าสมัยใหม่
8. การจัดนิทรรศการในประเทศไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า นิทรรศการในประเทศไทยโดยเฉพาะทางด้านการศึกษา เริ่มจัดขึ้นในวัดและในวัง
9. ภาพแสดงประวัติของนิทรรศการ ความสำคัญของนิทรรศการ นิทรรศการเป็นสื่อที่มีคุณค่าและมีศักยภาพสูงในการดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้ดีเนื่องจากความหลากหลายของสื่อสามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้ชมได้กล่าวถึงความสำคัญของนิทรรศการไว้ว่า“เป็นวิธีการอันทรงประสิทธิิภาพในการกระตุ้นให้ผู้คนสนใจในวัตถุและแนวความคิดอ่านเป็นวิธีที่มักเข้าถึงประชาชนได้เมื่อวิธีการอย่างอื่นๆ

บทที่2

ลักษณะของนิทรรศการ
......การจัดแสดงหรือจุลนิทัศน์เป็นการจัดนิทรรศการขนาดเล็กการจัดจุลนิทัศน์มีลักษณะสำคัญดังนี้ มีพื้นที่ขนาดเล็ก อุปกรณ์น้อยชิ้นใช้พื้นที่น้อย เนื้อหามีเรื้องเดียว เมื่อนำจุลนิทัศน์มารวมกันเป็นนิทรรศการ ดึงดูดสายตาคนที่ผ่านไปผ่านมา เร้าความสนใจได้ดี ก่อให้เกิดความปารถนาที่จะเป็นเจ้าของ โน้มน้าวให้คนเชื่อมั่นที่จะซื้อสินค้า กระตุ้นให้ตัดสินใจซื้อ ทำให้เกิดความพอใจและประทับใจนิทรรศการทั่วไปแบ่งเป็น 4 ขนาดตามพื้นที่ๆ จัดแสดง
1. นิทรรศการขนาดเล็ก มีพื้นที่น้อยกว่า 37ตารางเมตร
2. นิทรรศการขนาดกลาง มีพื้นที่ตั้งแต่ 38 – 148 ตารางเมตร
3. นิทรรศการขนาดใหญ่ มีพื้นที่ตั้งแต่ 149 - 371ตารางเมตร
4. นิทรรศการขนาดยักษ์ มีพื้นที่มากว่า 371ตารางเมตรขึ้นไปการจัดนิทรรศการมีลักษณะสำคัญดังนี้ มักจัดในโอกาสพิเศษ มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย.มหกรรม
......เป็นนิทรรศการขนาดใหญ่โตมโหฬารมีลักษณะสำคัญดังนี้ ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่มาก ใช้งบประมาณมาก กลุ่มเป้าหมายเป็นคนจากทั่วโลก แสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี.นิทรรศการเพื่อการศึกษา
......เป็นการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนโดยมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ ทำให้ผู้ชมได้ความรู้เป็นสำคัญ ส่งเสริมให้ผู้ชมมีทัศนคติที่ดีทางการศึกษา จัดได้ทั้งในห้องเรียน ในโรงเรียน นอกโรงเรียน ที่ชุมชน จัดได้ทั้ง นิทรรศการชั่วคราว นิทรรศการเคลื่อนที่ และนิทรรศการถาวร จัดขึ้นที่องค์กรต่างๆ ให้ความรู้ได้อย่างดี เช่น พิพิธภัณฑสถานประจำจังหวัด โรงพยาบาล องค์การบริการส่วนตำบล เป็นต้น.นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
......นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์เน้นเพื่อการสร้างความสำพันธ์ระหว่างประชาชนกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ มีลักษณะสำคัญดังนี้ มีการรวบรวมข้อเท็จจริง ให้ผู้ชมมีทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงาน มีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจนเชื่อถือได้ จัดตามเทศกาลต่างๆ มีรูปแบบที่หลากหลายแปลกใหม่ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆเช่น การตอบปัญญา การตอบแบบสอบถาม เป็นต้น.นิทรรศการเพื่อการค้า
......นิทรรศการเพื่อการค้าจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการขายสินค้ามีลักษณะสำคัญดังนี้ เพื่อขายสินค้า โดยเน้นโฆษณาประชาสัมพันธ์ จัดโดยนักธุรกิจภาคเอกชน มีรูปแบบนิเทศการถาวร เพื่อจะจัดขายได้ระยะเวลานาน เน้นสื่อโฆษณา มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการขายเช่น ของตัวอย่าง ของแถม และคูปอง เป็นต้น.นิทรรศการถาวร
......เป็นการจัดนิทรรศการที่สมบูรณ์แบบที่สุดเพราะต้องใช้การเตรียมทำข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด เพราะต้องจัดอย่างต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานาน มีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้ จัดที่ใดที่หนึ่งเป็นระยะเวลานาน มีการลงทุนสูง วัสดุที่ใช้จัดมีความคงทน มีการออกแบบอย่างพิถีพิถัน การทำงานมีระบบแบบแผน เป็นการจัดวิถีชีวิตในชุมชนเป็นส่วนใหญ่สืบทอดมาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่จะจัดในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ เรื่องราวที่จัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์วรรณกรรม เป็นต้นิทรรศการชั่วคราวเป็นการจัดนิทรรศการแบบชั่วคราวมักจัดตามเทศกาลต่างๆ ใช้เวลาจัดประมาณ 2 – 10 วัน มีลักษณะที่สำคัญต่อไปนี้จัดระยะสั่นเป็นครั้งเป็นคราว ตามเทศกาลต่างๆ เนื้อหาเน้นเรื่องราวใหม่ๆ สื่อที่ใช้จัดเป็นแบบชั่วคราวเป็นทั้งสื่อประเภทวัสดุและกิจกรรม.นิทรรศการเคลื่อนที่
......นิทรรศการเคลื่อนที่จะเข้าถึงพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อความสะดวกเป็นการบริการทางการศึกษา มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ จะจัดไว้เป็นชุดๆ หลายชุด เนื้อหาจะเน้นตอบสนองกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก ต้องอาศัยยานพาหนะเป็นหลัก สื่อที่ใช้มีจำนวนน้อยไม่มากชิ้นนัก.นิทรรศการในอาคาร
......เป็นการจัดนิทรรศการในร่ม มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ จัดขึ้นในที่ร่มสามารถกันแดดกันฝนได้ เนื้อหามีไม่มากนักสามาร๔จัดในพื้นที่แคบได้ เนื้อหามีความต่อเนื่องปราศจากสิ่งรบกวน มีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยอย่างดี มีการควบคุมแสงเพื่อเน้นจุดสนใจ วัสดุที่จัดเป็นทั้งแบบชั่วคราวและถาวร สามารถควบคุมบรรยากาศในห้องเรียนได้.นิทรรศการกลางแจ้ง......จัดในพื้นที่กว้างจัดได้ในบริเวณกว้าง มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ จัดนอกอาคาร จัดได้ทั้งแบบถาวรและชั่วคราว เนื้อหาเน้นสอดคล้องกับธรรมชาติ เช่น เกี่ยวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุงานเกษตรกรรม เป็นต้น.นิทรรศการกึ่งกลางแจ้ง......จัดทั้งกลางแจ้งและในร่ม มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ นิทรรศการจัดได้ทั้งในอาคารและนอกอาคาร จัดได้ทั้งถาวรและชั่วคราว จัดเนื้อหาที่หลากหลายได้เพราะจัดทั้งในอาคารและนอกอาคาร มีสื่อที่หลากหลายอาจเป็นหุ่นจำลองหรือของจริงก็ได้ สามารถออกแบตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดได้ เช่น นิทรรศการเพื่อการค้า นิทรรศการเพื่อการศึกษา นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

บทที่3

หลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการ
......โดยทั่วไปธรรมชาติของมนุษย์มีการรับรู้ที่ต่างกัน บางคนรับรู้ได้ดีจากภาพ บางคนรับรู้ได้ดีด้วยเสียง บางคนรับรู้ได้ดีด้วยตัวหนังสือ บางคนก็รับรู้ได้ดีด้วยของจริง เป็นต้น เราจึงต้องรู้หลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการ
......การรับรู้
......คือ การสัมผัสที่มีความหมายอันเกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา

– การมองเห็น หู
– ได้ยินเสียง จมูก
– การรับกลิ่น ปาก
– การรับรส ร่ายกาย
– ความรู้สึก เราจะต้องรู้ว่าสิ่งนั่นคืออะไรมาก่อน เช่น รู้ว่ารสเปี้ยวมาจากมะม่วง รู้ว่ากลิ่นนั้นเป็นกลิ่นของดอกไม้ เป็นต้น
___1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้
______1.1 เร้าความสนใจภายนอก
________1.1.1 ความเข้ม
________1.1.2 ขนาด
________1.1.3 ความแปลกใหม่และสิ่งที่มีลักษณะตัดกัน
________1.1.4 ตำแหน่งที่ตั้ง
________1.1.5 การเคลื่อนไหว
________1.1.6 ความเป็นหนึ่งเดียว
________1.1.7 ระยะทาง
________1.1.8 ความคงทน
________1.1.9 การทำซ้ำ
_____1.2 ปัจจัยที่เร้าความสนใจภายใน
________1.2.1 ความตั้งใจ
________1.2.2 แรงขับ
________1.2.3 อารมณ์ หรือคุณภาพของจิต
________1.2.4 ความสนใจ
________1.2.5 สติปัญญา
___2. การรับรู้นิทรรศการตามแนวทฤษฎีจิตวิทยาทษฎีของกลุ่ม เกสตอลท์ ซึ่งมีแนวคิดว่าองค์ประกอบสำคัญของภาพหรือสิ่งเร้าที่รับรู้โดยทั่วไปมี 2 ส่วน คือภาพและพื้น
______2.1 หลักของความใกล้ชิด หมายถึง สิ่งเร้าที่อยู่ใกล้กันทำให้เรามีแนวโน้มที่จะรับรู้เป็นพวกเดียวกันมากกว่าสิ่งที่อยู่ห่างกัน
______2.2 หลักของความคล้ายคลึง หมายถึง สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันทำให้เรามีแนวโน้มที่จะรับรู้เป็นพวกเดียวกันมากกว่าสิ่งที่แตกต่าง
______2.3 หลักการต่อเนื่อง หมายถึง สิ่งเร้าที่ปรากฏเห็นอย่างซ้ำๆ เหมือนกันในทิศทางเดียวกัน

______2.4 หลักของความประสาน เป็นการเพิ่มสิ่งเร้าที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ สิ่งผิดปรกติ หรือวัตถุที่หายไปจะกระตุ้นความสนใจใด้ดีความไม่สมบูรณ์จะก่อให้เกิดความสงสัย
......การเรียนรู้
......คือ กระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม อันเป็นผลจากประสบการณ์ ไม่ได้เกิดตามธรรมชาติ เช่น รู้พิษของยา ความเหนื่อยล้า เป็นต้นประเภทของการเรียนรู้
___1. การเรียนรู้ตามความเข้าใจ
___2. การเรียนรู้ด้านเจตคติ หรือด้านอารมณ์ หรือด้านจิตใจ
___3. การเรียนรู้ด้านกล้ามเนื้อหรือประสาทสัมผัสจิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์วัยต่างๆ ตั้งแต่ปฏิสนธิยันแก่ชราทำให้เรารู้ถึงธรรมชาติของมนุษย์แต่ละวัยวความสนใจและความต้องการที่แตกต่างกัน

___วัยเด็กอายุ 2 – 6 ขวบ วัยนี้ชอบจำในสิ่งที่แปลกๆ
___วัยเด็กตอนกลางอายุ 7 – 12 ขวบ พอใจกับสิ่งใหม่ๆ ชอบอ่านหนังสือ ฟังเพลง ร้องเพลง ดูโทรทัศน์ ชอบภาพยนตร์ ประเภทนิทาน ชอบทำอะไรอย่างอิสระ
___วัยรุ่นอายุ 13 – 19 ปี ชอบเรียนแบบ จะชอบรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ ความทันสมัย วัยรุ่นจะมีความสนใจเพศตรงข้าม
___วัยผู้ใหญ่อายุ 20 – 40 ปี โดยทั่วไปสนใจกับรูปร่างหน้าตา บุคลิกภาพ การแต่งกาย สนใจเรื่องเศรษฐกิจ และสังคม พออายุ 40 เริ่มสนใจเรื่องสุขภาพ

บทที4

หลักการออกแบบนิทรรศการ
……“การออกแบบ” เป็นกระบวนจัดองค์ประกอบในทุกสาขาวิชาให้มีลักษณะแปลกใหม่ สวยงามสื่อความหมายได้ดีและมีประโยชน์ในการใช้สอย โดยอาศัยความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการเป็นหลักสำคัญในการจุดประกายความคิด.ความหมายของการออกแบบ
......การออกแบบตรงกับภาษาอังกฤษว่า “design” ในภาษากรีก หมายถึง บทกวี (poetry) การออกแบบตามกฎเกณฑ์การจัดองค์ประกอบศิลป์เพื่อให้บรรลุถึงความงามอันสมบูรณ์ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของงานไม่ว่าจะเป็นบทกวี เพลง บทละคร ท่ารำ ท่าเต้น ภาพปั้น ภาพเขียน งานการแสดงต่าง ๆ หรืองานพาณิชยศิลป์
......สรุปได้ว่า การออกแบบ หมายถึง ความคิดคำนึงหรือจินตนาการเกี่ยวกับความสัมพันธ์โดยรวมขององค์ประกอบย่อยกับโครงสร้างของแต่ละเรื่อง ในการออกแบบเรื่องหนึ่ง ๆ นักออกแบบจะพยายามสร้างทางเลือกหลาย ๆ แบบโดยการสลับสับเปลี่ยนคุณสมบัติขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ขนาด พื้นผิว ตำแหน่ง ทิศทาง รูปร่าง รูปทรง จังหวะเพื่อให้ได้โครงสร้างที่เหมาะสมที่สุด ดังนั้นการออกแบบจึงเป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นเสมอ.คุณค่าของการออกแบบ มี 3 ประการ คือ
___1. เพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น การออกแบบเครื่องไฟฟ้า เครื่องใช้สำนักงานและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

___2. เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โปสเตอร์ ป้ายโฆษณา แผ่นปลิว___3. เพื่อคุณค่าทางความงาม ซึ่งเกี่ยวข้องกับทัศนศิลป์ เช่น ภาพเขียน อุนสาวรีย์ ภาพ.จุดมุ่งหมายของการออกแบบมีจุดมุ่งหมายสำคัญ 2 ประการ ได้แก่
......การออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอย เป็นกระบวนการคิดในการแก้ปัญหาโดยการจัดองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสม เพื่อสนองความต้องการด้านกายภาพ การออกแบบลักษณะนี้นักออกแบบควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
___1.1 หน้าที่หรือประโยชน์ใช้สอย (function)
___1.2 ความประหยัด (economy)
___1.3 ความทนทาน (durability)
___1.4 โครงสร้าง (construction)
___1.5 ความงาม (beauty)
......การออกแบบเพื่อความงามและความพอใจ เป็นการออกแบบที่นิยมใช้กับศิลปกรรมหรืองานวิจิตรศิลป์ทุกแขนงอันได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี นาฎศิลป์และวรรณกรรม ผลงานเหล่านี้เกิดจากการถ่ายทอด “ความงาม”.การออกแบบนิทรรศการวัตถุประสงค์ของการออกแบบนิทรรศการ
___1. เพื่อกระตุ้นความสนใจให้ประชาชนได้รับความรู้และประสบการณ์จากการจัดนิทรรศการ

___2. เพื่อเป็นการสร้างสรรค์รูปแบบของสื่อต่าง ๆ
___3. เพื่อเป็นการกระตุ้นและดึงดูดความสนใจประชาชนให้ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร
___4. การออกแบบที่ดีเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ
___5. เป็นการประหยัดเวลา งบประมาณ และแรงงานในการลองผิดลองถูกกับสถานที่จริง.หลักการออกแบบในการจัดนิทรรศการ
___1. ความเป็นเอกภาพ หมายถึงการวางรูปแบบของนิทรรศการ อันได้แก่สิ่งแสดงต่างๆ
___2. การเน้น การจัดนิทรรศการผู้ออกแบบจะต้องให้ความสำคัญในการเน้นความรู้สึกอันได้แก่ 1) จุดเน้นหรือจุดสนใจ 2) จุดรอง
__3. ความแตกต่าง เป็นการจัดที่มีความประสงค์ให้มีการขัดแย้งเพื่อแก้ปัญหาความซ้ำซาก
___4. ความกลมกลืน ความกลมกลืนในที่นี้หมายถึงการพิจารณาในส่วนรวมทั้งหมด
___5. ความเรียบง่าย เป็นภาพหรืออักษรที่สื่อความหมายชัดเจนจะช่วยให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจได้ไวขึ้น

___6. ความสมบูรณ์ เป็นการสำรวจขั้นสุดท้ายที่จะสรุปผลการออกแบบอันมีผลโดยตรงต่อส่วนรวมทั้งหมด
......จะเห็นได้ว่าหลักการออกแบบในการจัดนิทรรศการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ประกอบด้วยหลักใหญ่ ๆ อยู่ 3 ประการ ได้แก่ ความเป็นเอกภาพ ความสมดุล และการเน้น ซึ่งแต่ละส่วนมีความสัมพันธ์กัน.ความเป็นเอกภาพ
......เอกภาพ (Unity) หมายถึง ผลรวมขององค์ประกอบที่อยู่ร่วมกันได้อย่างเหมาะสมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพ ความเป็นเอกภาพแสดงออกให้เห็นรูปแบบต่าง ๆ ดังตัวอย่าง เช่น ความใกล้ชิด (proximity) การซ้ำ (repetition) ความต่อเนื่อง (continuation) ความหลากหลาย (variety) ความกลมกลืน (harmony)
___1. ความสมดุลความสมดุลเป็นลักษณะการจัดองค์ประกอบให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ชมคล้อยตามโดยไม่รู้ตัว ประเภทของความสมดุล ได้แก่ ความสมดุลแบบสมมาตร (symmetrical balance หรือ formal balance) กับความสมดุลแบบอสมมาตร (asymmetrical balance หรือ informal balance)
___2. การเน้น
......การเน้นเป็นการเลือกย้ำทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งเร้าให้มีความเข้มโดดเด่น ช่วยกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดการรับรู้นิทรรศการได้มากกว่าสิ่งแวดล้อมทั่วไป ทำให้ผู้ชมรับรู้ได้ชัดเจนกว่าส่วนอื่น ๆ ที่มีลักษณะเป็นปกติธรรมดา การเน้นอาจเน้น

บทที5

ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการ
......มีขั้นตอนในการดำเนินงานอย่างน้อย 4 ขั้นตอนเหมือนกันคือ ขั้นการวางแผน (planning stage) ขั้นปฏิบัติการผลิตสื่อและติดตั้ง (media production stage) ขั้นการนำเสนอ (presentation stage) และขั้นการประเมินผล (evaluation stage) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้.1.ขั้นการวางแผน
......ทำอะไร หรือจะจัดกิจกรรมอะไร คณะผู้ดำเนินงานต้องระบุชื่อหรือประเภทของกิจกรรมนั้น ๆ ให้ชัดเจน เช่น การจัดนิทรรศการ การจัดจุลนิทัศน์ การรณรงค์ การจัดมหกรรม การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
.....ทำไปทำไม หรือจะจัดเพื่ออะไร เมื่อกำหนดว่าจะทำกิจกรรมอะไร ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรมนั้นเป็นสำคัญ เช่น การจัดจุลนิทัศน์แสดงสินค้าเพื่อส่งเสริมการขาย การจัดนิทรรศการวันมาฆบูชาเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมพุทธศาสนา การจัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์เพื่อรักษาประเพณีอันดีงามของไทย เป็นต้น
......ทำที่ไหน สถานที่หรือบริเวณอยู่ที่ไหนห่างไกลจากชุมชนกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ การคมนาคมสะดวกมากน้อยเพียงใด
......ทำเมื่อใด หรือกิจกรรมนั้นจะจัดขึ้นเมื่อใด อาจเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ วันเปิดอาคารใหม่ วันต้อนรับอาคันตุกะที่สำคัญ หรือจัดระหว่างวันเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันสำคัญทางศาสนา ฯลฯ......ทำเพื่อใคร หรือใครคือกลุ่มเป้าหมายหลักที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมนิทรรศการที่จัดขึ้นแต่ละครั้ง ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการจัดนิทรรศการ มีอิทธิพลต่อการกำหนดองค์ประกอบอื่น ๆ แทบทุกด้าน
......ทำอย่างไรหรือจะจัดกิจกรรมอย่างไร เป็นคำถามสุดท้ายที่สำคัญที่สุดซึ่งจะนำไปสู่ การลงมือปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ให้มีประสิทธิภาพทำได้อย่างไร
......นอกจากคำถามพื้นฐานสำคัญในการวางแผนทั่ว ๆ ไปดังกล่าว อาจวางแผนโดยยึดหลักการบริหาร

......การวางแผนในการจัดนิทรรศการที่สำคัญได้แก่ การวางแผนเกี่ยวกับผู้ชม การวางแผนเกี่ยวกับเรื่องและเนื้อหา
......เมื่อประมวลคำถามและแนวความคิดเกี่ยวกับการวางแผนดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่าในขั้นการวางแผน ควรมีการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาในเรื่องการตั้งวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและกิจกรรม สถานที่ เวลา งบประมาณ การออกแบบนิทรรศการ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบและการประชาสัมพันธ์
___1. การตั้งวัตถุประสงค์
______การจัดนิทรรศการเพื่อจำหน่ายสินค้า
______การจัดนิทรรศการเพื่อเปิดตัวและแนะนำสินค้า
______การจัดนิทรรศการทางการศึกษา­­
______การจัดนิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
___2. กลุ่มเป้าหมาย
______เพศ
______วัย
______ระดับการศึกษา
______อาชีพ
______ความเชื่อ
______สภาพเศรษฐกิจ
______สถานภาพทางสังคม
___3. เนื้อหาและกิจกรรม
______กลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการ
______กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา
______กลุ่มเป้าหมายเป็นชาวนา
______กลุ่มเป้าหมายเป็นนักธุรกิจ
___4. ระยะเวลา
___5. สถานที่
______ทำเลที่ตั้ง
______บริเวณขอบเขต
______งบประมาณ
______ค่าสถานที่
______ค่าไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์สำหรับแสงสว่างทั่วไป
______ค่าใช้จ่ายด้านโสตทัศนูปกรณ์
______ค่าใช้จ่ายในการจัดหาสื่อในการจัดแสดง
______ค่าวัสดุประกอบการตกแต่งและติดตั้ง
______ค่าวัสดุที่ใช้ในการผลิตและตกแต่ง
______ค่าจัดทำเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
______ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อมวลชนต่าง ๆ
______ค่าใช้จ่ายสำหรับกิจกรรมประกอบทุกประเภท
______ ค่าพาหนะขนส่งและค่าน้ำมันเชื้อเพลิ
______ ค่าอาหาร น้ำดื่ม
______ ค่าบริการทางด้านสาธารณูปโภค
______ ค่าใช้จ่ายในฝ่ายพิธีการ
______ ค่าใช้จ่ายสำรองในกรณีฉุกเฉินที่ต้องแก้ปัญหา
______ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
___6. การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ
______ฝ่ายควบคุมนิทรรศการ
______ฝ่ายศิลปกรรม
______ฝ่ายช่าง
______ฝ่ายวิชาการ
______ฝ่ายการเงิน
______ฝ่ายสถานที่
______ฝ่ายประชาสัมพันธ์
______ฝ่ายประเมินผล
______ฝ่ายพิธีการ
______ ฝ่ายประสานงาน.2. ขั้นปฏิบัติการผลิตสื่อและติดตั้ง
___2.1 การออกแบบในงานนิทรรศการ การออกแบบเป็นหัวใจสำคัญในการจัดนิทรรศการ ช่วยให้งานดูโดดเด่นกระตุ้นความสนใจ
______การออกแบบโครงสร้าง ได้แก่โครงสร้างทางกายภาพของงานนิทรรศการทั้งหมด ซึ่งได้แก่โครงสร้างของพื้นที่ที่ใช้ในการจัดแสดงและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
______การออกแบบตกแต่ง เป็นการออกแบบเพื่อทำให้งานนิทรรศการมีความโดดเด่น สวยงาม ดึงดูดความสนใจ และสื่อความหมายกับผู้ชม
______การออกแบบสื่อ 2 มิติ เป็นสื่อประเภทงานกราฟิกที่ใช้ในการเสนอเนื้อหาเพื่อถ่ายทอดให้ผู้ชมเกิดการเรียนรู้โดยตรง
______การออกแบบสื่อ 3 มิติเป็นการสร้างสรรค์สื่อที่มีทั้งความกว้างความยาวและความหนา

______การออกแบบสื่อประสมหรือสื่อมัลติมีเดีย ปัจจุบันการออกแบบและการนำเสนอผลงานทำได้สะดวกรวดเร็วโดยใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการดำเนินงาน
______การออกแบบสื่อกิจกรรม เป็นสื่อการแสดงที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมหรือบุคคลในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และการนำเสนอ
___2.2 การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ การจัดนิทรรศการแต่ละครั้งต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก เช่น อุปกรณ์หลักในการจัดสถานที่ อุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง อุปกรณ์เกี่ยวกับแสงเสียงและไฟฟ้า วัสดุอุปกรณ์เพื่อการแสดงและตกแต่ง โสตทัศนวัสดุ
___2.3 การลงมือติดตั้งสื่อต่าง ๆ เป็นขั้นจัดวางสิ่งของวัสดุอุปกรณ์ให้เป็นไปตามผังที่ออกแบบไว้แล้ว การดำเนินงานในขั้นนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากฝ่ายต่าง ๆ เช่น ฝ่ายวิชาการ ช่างศิลป์ ช่างไม้ ช่างไฟฟ้า ช่างเทคนิคด้านโสตทัศนูปกรณ์ เป็นต้น
___2.4 การควบคุมดูแลความปลอดภัย เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ชมได้รับอันตรายใด ๆ จากการเข้าชมนิทรรศการ

.3. ขั้นการนำเสนอ
......ในขั้นนี้เป็นการแสดงเนื้อหาข้อมูลหรือสื่อต่าง ๆ ให้ผู้ชมได้รับรู้ ทดลอง จับต้องหรือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่วางแผนออกแบบและติดตั้งไว้ โดยทั่วไปประกอบด้วย พิธีเปิดนิทรรศการ การนำชม ดำเนินกิจกรรมและการประชาสัมพันธ์ภายใน เป็นต้น
___1.1 พิธีเปิดนิทรรศการ สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมในพิธีเปิด คือ เครื่องขยายเสียงคุณภาพดี แท่นยืนสำหรับประธาน คำกล่าวรายงานของผู้รายงาน และคำกล่าวเปิดงานสำหรับประธานในพิธี หากเป็นไปได้คำกล่าวเปิดงานควรเสนอต่อประธานเพื่ออ่านก่อนถึงพิธีเปิดจะเป็นผลดียิ่ง
___1.2 การนำชมและดำเนินกิจกรรม หลังจากพิธีเปิดเสร็จสิ้นลง คณะผู้จัดนิทรรศการนำประธานและผู้เข้าชมเดินชมนิทรรศการตามจุดสำคัญ ๆ ของงาน แต่ละจุดมีพิธีกรบรรยายถ่ายทอดความรู้ที่จัดแสดง ตลอดจนให้คำแนะนำหรือตอบคำถามจากผู้ชม
___1.3 การประชาสัมพันธ์ภายใน เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ชมในการเข้าชมนิทรรศการด้วยสื่อหลายชนิด เช่น ป้ายผังรวมของงานหรือแผ่นปลิวบอกตำแหน่งที่ตั้งของแต่ละหน่วยงาน .4. ขั้นการประเมินผล
......การประเมินผลเป็นงานสุดท้ายที่มีความสำคัญที่สุดของการปฏิบัติงานทุกชนิด เพราะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานแต่ละครั้ง
___1.1 การประเมินภายในจากกลุ่มผู้จัด
___1.2 การประเมินจากกลุ่มผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมาย.แนวทางการจัดนิทรรศการที่ดี
___1. เนื้อหาที่นำมาจัดนิทรรศการต้องตรงกับความสนใจและมีความหมายต่อการเรียนรู้ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
___2. เนื้อหาที่จัดแสดงในจุดหนึ่ง ๆ ควรมีจุดมุ่งหมายเดียวหรือแนวคิดเดียว แสดงออกถึงความมีเอกภาพทั้งด้านเนื้อหา ความรู้ ความคิด และองค์ประกอบทางกายภาพ
___3. ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าการจัดนิทรรศการที่ดีต้องจัดให้ผู้ชมดู
___4. ตัวหนังสือที่ใช้ในการจัดนิทรรศการควรเป็นแบบเดียวกัน สวยงามเหมาะสมกับเนื้อหา

___5. การออกแบบควรมีลักษณะง่ายสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ยากให้ดูง่าย
___6. การจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ดีจะช่วยกระตุ้นความสนใจและสื่อความหมายกับผู้ชมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
___7. พึงระวังอย่างให้การจัดแสดงผลงานที่ใช้เวลาในการเตรียมมานานกลายเป็นนิทรรศการ “ตาย”
___8. สื่อที่ใช้ในการจัดนิทรรศการควรมีหลายประเภท
___9. วัสดุที่นำมาสร้างสรรค์สื่อเพื่อนำเสนอในนิทรรศการควรมีคุณสมบัติสอดคล้องเป็นหมวดเดียวกับเนื้อหา
___10. สื่อหรือสิ่งของที่นำมาจัดแสดงหากไม่เป็นอันตรายต่อผู้ชม
___11. สถานที่ในการจัดนิทรรศการควรมีลักษณะโดดเด่น
___12. แสงและอากาศเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการจัดนิทรรศการ ผู้จัดต้องแน่ใจว่าการจัดนิทรรศการแต่ละครั้งมีแสงสว่างและอากาศดีเพียงพอ อาจจะเป็นแสงธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟ ก็ได้.ความล้มเหลวของการจัดนิทรรศการ
___1. ขาดการวางแผนที่ดี
___2. ขาดการประสานที่ดีระหว่างผู้บริหารหรือเจ้าของงานกับผู้ปฏิบัติงาน
___3. มีเวลาในการเตรียมและการดำเนินงานน้อยเกินไป
___4. การจัดนิทรรศการไม่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
___5. การจัดนิทรรศการไม่เหมาะกับเหตุการณ์หรือเทศกาล
___6. ขาดการออกแบบที่ดี
___7. ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี
___8. ขาดงบประมาณสนับสนุน
___9. มีความบกพร่องทางเทคนิคบางประการ
___10. สถานที่จัดอยู่ห่างไกลจากชุมชนกลุ่มเป้าหมาย

บทที6

เทคนิคการจัดนิทรรศการ
การจัดแผ่นป้าย
......แผ่นป้าย (board) หมายถึง แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้ เป็นวัสดุรองรับสื่อหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงซึ่งมีหลายรูปแบบหลายลักษณะแตกต่างกัน.1.ประเภทของแผ่นป้าย
___ การจำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำ ได้แก่ ไม้ พลาสติก โลหะ
___ การจำแนกตามลักษณะการติดตั้ง การจำแนกตามลักษณะการติดตั้ง ได้แก่ ป้ายที่เคลื่อนที่ได้ และป้ายที่เคลื่อนที่ไม่ได้
___ การจำแนกตามลักษณะการใช้งาน การจำแนกตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ แบบสำเร็จรูป และแบบถอดประกอบ
___ การจำแนกตามลักษณะการจัดแสดง การจำแนกตามลักษณะการจัดแสดง ได้แก่ แบบตั้งแสดง แบบแขวน แบบติดฝาผนัง.2.เทคนิคการจัดแผ่นป้าย
___แผ่นป้ายยึดติดกับขาตั้งอย่างถาวร
___แผ่นป้ายอิสระ
___แผ่นป้ายสามเหลี่ยมรูปตัวเอ
___แผ่นป้ายแบบแขวน
___แผ่นป้ายแบบโค้งงอรูปตัวเอส (S)
___แผ่นป้ายแบบกำแพง
___แผ่นป้ายสำหรับจัดร้านขายสินค้า
___แผ่นป้ายตั้งแสดง
___แผ่นป้ายผืนธง
.3. การจัดป้ายนิเทศ
.....ป้ายนิเทศ (bulletin board) เป็นสื่ออย่างหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันมากทั้งในวงการศึกษา วงการธุรกิจ วงการเมือง
......ซินแคลร์ (Sinclair, 1994, p.182) กล่าวว่า ป้ายนิเทศหรือ Bulletin Board เป็นคำศัพท์ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันมีความหมายเดียวกับคำว่า Notice board ซึ่งมีความหมายว่าแผ่นกระดาน ปกติติดตั้งไว้กับฝาผนัง หรือสถานที่จัดแสดงด้วยป้าย
......ป้ายนิเทศ เป็นทัศนวัสดุที่ใช้สำหรับแสดงเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งอาจใช้รูปภาพแผนภูมิหรือวัสดุสามมิติ ฯลฯ
.4. คุณค่าของป้ายนิเทศ
......ใช้ในการจัดแสดงแจ้งข่าวสารผู้ชมสามารถศึกษาเนื้อหาได้ซ้ำแล้วซ้ำอีกตามความพอใจ ช่วยประหยัดเวลาในการสอนและการสื่อ ความหมายเพื่อถ่ายทอดความรู้
___หลักการและเทคนิคการจัดป้ายนิเทศ
______4.1หลักการจัดป้ายนิเทศ
_________การกระตุ้นความสนใจ
_________การมีส่วนร่วม
_________การตรึงความสนใจ
_________ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
_________การเน้น
_________การใช้สี
______4.2 เทคนิคการจัดป้ายนิเทศ
_________ชื่อเรื่อง จะต้องสั้น อ่านง่าย เด่นชัด สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลดึงดูดความสนใจได้ทันที
_________ข้อความเชิญชวนหรือคำอธิบาย ควรมีลักษณะกระทัดรัด สั้นอ่านง่ายได้ใจความชัดเจน จัดช่องไฟได้เหมาะสม
_________การสร้างมิติเพื่อการรับรู้
_________การใช้สี แสง เงา
_________การเคลื่อนไหว
_________การใช้รูปภาพ
_________การจัดองค์ประกอบ
_________การตกแต่งพื้นป้ายนิเทศ
_________การจัดป้ายนิเทศร่วมกับสื่ออื่นจะช่วยให้การถ่ายทอดเนื้อหาสมบูรณ์และน่าสนใจยิ่งขึ้น
_________การใช้เนื้อหาหรือกิจกรรมเป็นตัวกำหนด.การจัดป้ายนิเทศให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์1.1 การจัดภาพบนหน้าต่างหรือแบบวินโดว์ ภาพแบบหน้าต่างหรือแบบวินโดว์ (window) เป็นการจัดเพื่อเน้นรายละเอียดด้วยรูปภาพขนาดใหญ่เพียงภาพเดียว 1.2 การจัดภาพแบบละครสัตว์ การจัดภาพแบบละครสัตว์ (circus) เป็นการจัดภาพที่มีลักษณะเป็นกลุ่มๆ1.3 การจัดภาพแบบแกน การจัดภาพแบบแกน (axial) เป็นการจัดภาพที่มีรูปภาพอยู่ตรงกลางและมีคำอธิบายกำกับทั้งด้านซ้ายและด้านขวาหรือโดยรอบ 1.4 การจัดภาพแบบกรอบภาพ การจัดภาพแบบกรอบภาพ (frame) เป็นการจัดโดยนำภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวางเรียงต่อเนื่องกันล้อมรอบเนื้อหาข้อความ

1.5 การจัดภาพแบบตาราง การจัดภาพแบบตาราง (grid) เป็นการจัดภาพไว้ในตารางซึ่งอาจเว้นช่องใดช่องหนึ่งหรืออาจขยายภาพใดภาพหนึ่งเพื่อให้เกิดจังหวะระหว่างรูปภาพทำให้ดูแปลกตา
1.6 การจัดภาพแบบแถบ การจัดภาพแบบแถบ (band) เป็นการจัดรูปภาพและเนื้อหาที่เรียงตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่ขั้นต้นถึงขั้นสุดท้าย แสดงให้เป็นลำดับขั้น
1.7 การจัดภาพแบบแกน การจัดภาพแบบแกน (path) เป็นการจัดให้รูปภาพหรือเหตุการณ์เรียงกันอย่างต่อเนื่องไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งซึ่งอาจคดเคี้ยวโค้งงอไปตามจังหวะที่สวยงาม. ลักษณะของบริเวณว่าง
......บริเวณว่างมี 2 ลักษณะได้แก่ บริเวณว่างที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์ (positive space) และบริเวณว่างที่นอกเหนือจากการใช้สอย (negative space)
1. การออกแบบบริเวณว่าง
1.1 การจัดองค์ประกอบแนวตั้ง องค์ประกอบแนวตั้ง
1.2การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้ง องค์ประกอบระนาบแนวตั้ง มีลักษณะแผนกั้นเป็นฉากหลังของพื้นที่ระนาบแนวตั้ง (linear vertical plane)
1.3 การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้งรูปตัวแอล (L) องค์ประกอบระนาบแนวตั้งรูปตัวแอล หรือระนาบมุมฉาก (L-shaped planes)
1.4 การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้งขนานกัน องค์ประกอบระนาบแนวตั้งขนานกัน หรือระนาบคู่ขนาน (parallel planes)
1.5 การจัดองค์ประกอบระนาบรูปตัวยู องค์ประกอบระนาบรูปตัวยู (U) เป็นระนาบปิดล้อมสามด้าน (U-shaped planes).การกำหนดบริเวณว่างในเชิงจิตวิทยา
......การใช้บริเวณว่างในเชิงจิตวิทยาเพื่อการเชิญชวนลูกค้าหรือผู้ชมเข้าชมและร่วมกิจกรรมควรคำนึงถึงธรรมชาติของการปฏิสัมพันธ์และการแสดงออกของผู้ชม โดยเฉพาะลูกค้าใหม่หรือผู้ชมที่ยังไม่คุ้นเคยกับสินค้าผลิตภัณฑ์ใหม่ ควรยึดหลักสำคัญคือการหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางใด ๆ ทุกชนิด.การกำหนดทางเดินชมนิทรรศการ
1. การสัญจรทิศทางเดียวชมได้ด้านเดียว
2. การสัญจรทิศทางเดียวชมได้ 2 ด้าน
3. การสัญจรอย่างอิสระตามความต้องการ

บทที7

สื่อในการจัดนิทรรศการ
ประเภทของสื่อในนิทรรศการ
......สื่อที่นำมาใช้ในนิทรรศการสามารถจำแนกตามคุณสมบัติได้ 3 ประเภทได้แก่สื่อวัสดุ สื่ออุปกรณ์ และสื่อกิจกรรม.สื่อวัสดุ.
.....สื่อวัสดุ (materials) ได้แก่ สื่อขนาดเล็ก ๆ มีน้ำหนักเบา บางทีเรียกว่า ซอฟท์แวร์ (software) มีคุณว่าต่อการเรียนรู้ของผู้ชมนิทรรศการเป็นอย่างมาก เนื่องจากสื่อประเภทนี้เป็นแหล่งเก็บรวบรวมความรู้และประสบการณ์ไว้ได้ บางชนิดสามารถสื่อความหมายได้ในตัวเอง แต่บางชนิดต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์เป็นตัวผ่านขยายจึงจะสามารถสื่อความหมายได้สมบูรณ์ชัดเจน คุณสมบัติของสื่อประเภทนี้มีทั้งชนิดถาวรและชนิดสิ้นเปลือง ตัวอย่างเช่น แผ่นปลิว แผนภูมิ แผนภาพ ภาพถ่าย ภาพโปสเตอร์ เทปวิดีทัศน์ เทปเสียง แผ่นซีดี เป็นต้น.สื่ออุปกรณ์
......สื่ออุปกรณ์ (equipments) ได้แก่ สื่อใหญ่หรือสื่อหนัก บางทีเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (hardware) เป็นสื่อประเภทเครื่องมือหรืออุปกรณ์ โดยทั่วไปมีส่วนประกอบเป็นเครื่องยนต์กลไก ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ สื่อเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นตัวผ่านขยายสื่อวัสดุให้ผู้ชมนิทรรศการรับรู้และเรียนรู้ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์ เครื่องวิชวลไลเซอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เครื่องขยายเสียง เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น.สื่อกิจกรรม
......สื่อกิจกรรม (activities) ได้แก่ กระบวนการนำเสนอความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกนึกคิดหรือข้อมูลต่าง ๆ ด้วยการกระทำเป็นขั้นตอนเน้นให้ผู้ชมนิทรรศการได้มีส่วนร่วมในการแสดงออกหรือการลงมือกระทำด้วยตนเอง เช่น การสาธิต การทดลอง การแสดงละคร การตอบปัญหา การโต้วาที การแสดงบทบาทสมมุติ การสร้างสถานการณ์จำลองและการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น.การใช้สื่อในนิทรรศการสื่อวัสดุ
......สื่อวัสดุที่นิยมใช้ในการจัดนิทรรศการ ได้แก่ แผ่นปลิว แผ่นพับ จุลสาร วารสาร ภาพโฆษณา แผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ หุ่นจำลอง ของจริง และสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
1. แผ่นปลิว (leaflets) ในงานนิทรรศการใช้แผ่นปลิวได้หลายโอกาส เริ่มตั้งแต่ประชาสัมพันธ์งานและให้ข้อมูลเนื้อหาสาระที่ต้องการสื่อสาร เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากและไม่เฉพาะเจาะจง2. แผ่นพับ (folders) เป็นสื่อวัสดุที่ให้ข้อมูลข่าวสารได้ดีอีกชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นกระดาษแผ่นใหญ่ที่นำมาพับให้มีขนาดเหมาะสมต่อการใช้งานได้หลายอย่าง
3. จุลสาร วารสาร (journal) เป็นที่นิยมมากในการจัดนิทรรศการขนาดกลางและขนาดใหญ่ และมักจะจัดทำเป็นโอกาสพิเศษสำหรับนิทรรศการนั้น ๆ
4. ภาพโฆษณา (posters) เป็นสื่อที่ทัศนวัสดุที่สร้างขึ้นเพื่อใช้กระตุ้น ชักชวน จูงใจให้ผู้ชมเกิดความสนใจเชื่อถือศรัทธาและนำไปสู่การแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป การใช้ภาพโฆษณาในนิทรรศการจะช่วยเร้าใจให้ผู้ชมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างได้ดี
5. แผนภูมิ (charts) เป็นวัสดุกราฟิกที่มีองค์ประกอบเป็นสัญลักษณ์ รูปภาพและตัวอักษร มีความทนทานและสะดวกในการเก็บรักษาแผนภูมิที่นำมาใช้ถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ในนิทรรศการจำแนกได้ 8 ชนิดดังนี้
___5.1 แผนภูมิแบบต้นไม้ (tree charts) เหมาะสมกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์แสดงให้เห็นสิ่งหนึ่ง ๆ
___5.2 แผนภูมิแบบสายธาร (steam charts) เหมาะกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสดงให้เห็นว่าสิ่งหนึ่ง ๆ เกิดจากหลายสิ่งมารวมกัน
___5.3 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง (flow charts) ใช้แสดงเนื้อหาที่เป็นลำดับขั้นตอนของการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสุดท้าย
___5.4 แผนภูมิแบบองค์การ (organization charts) ใช้แสดงความสัมพันธ์ของ สายงานในองค์การหรือหน่วยงานหนึ่ง ๆ ซึ่งอาจจำแนกตามตำแหน่งหรือกลุ่มงานก็ได้ เช่น การบริหารงานโรงเรียน การบริหารงานโรงพยาบาล การบริหารงานเทศบาล เป็นต้น
___5.5 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ (comparison charts) ใช้แสดงเปรียบเทียบ ความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ ทั้งด้านกระบวนการ รูปร่าง ลักษณะ เช่น ลักษณะยุงลายกับยุงก้นปล่อง ลมบกกับลมทะเล การขยายตัวของวัตถุที่ถูกเผากับวัตถุธรรมดา เป็นต้น
___5.6 แผนภูมิแบบตาราง (table charts) ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับเหตุการณ์ เช่น ตารางการเดินรถ ตารางเรียน ตารางการแข่งขันกีฬา ตารางแสดงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ ตารางอัตราค่าบริการ เป็นต้น
___5.7 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ (evolution charts) ใช้แสดงกระบวนการหรือลักษณะการเปลี่ยนแปลงอย่างมีการพัฒนาของสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น วิวัฒนาการของจักรยาน วิวัฒนาการของสัตว์โลกตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบัน วิวัฒนาการของเชื้อโรคไข้เลือดออก เป็นต้น

___5.8 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ (pictorial charts) ใช้ชี้แจงแสดงข้อมูลส่วนต่าง ๆ ของภาพให้เห็นชัดเจน ซึ่งอาจวางตัวหนังสือทับซ้อนภาพ6. แผนภาพ (diagrams) เป็นทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งของหรือของระบบงานด้วยภาพ แผนภาพแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
___6.1 แผนภาพลายเส้น เป็นแผนภาพที่เขียนด้วยลายเส้นแบบง่ายๆ เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ในภาพรวม เหมาะสำหรับแสดงโครงสร้าง การบอกลักษณะ ตำแหน่งแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
___6.2 แผนภาพแบบรูปภาพ เป็นการวาดภาพแสดงโครงสร้างทั้งภายในและภายนอก เพื่ออธิบายส่วนประกอบ ความสัมพันธ์ หรือกระบวนการทำงานของวัตถุนั้น
___6.3 แผนภาพแบบผสม เป็นแผนภาพที่แสดงภาพเหมือมจริงผสมผสานกับภาพลายเส้นในลักษณะของการผ่าซีก ทำให้เห็นวัตถุได้ทั้งส่วนที่เป็นภาพเหมือนจริงซึ่งกระตุ้นให้เกิดเจตคติที่ดีได้

7. แผนสถิติ (graphs) เป็นวัสดุที่เน้นการสื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข แผนสถิติแต่ละเรื่องควรแจ้งที่มาของข้อมูลต่างๆ ให้ชัดเจนเพื่อสร้างความเชื่อถือ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ชนิดดังนี้
___7.1 แผนสถิติแบบเส้น (line or curve graph)ใช้กับข้อมูลที่แสดงความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องได้ดีกว่าแบบอื่นๆ การเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่ 2 ข้อมูลขึ้นไป
___7.2 แผนสถิติแบบแท่ง (bar graph) เป็นแบบที่ใช้เปรียบเทียบข้อมูลด้วย การเทียบเคียงกันเป็นคู่ๆ
___7.3 แผนสถิติแบบวงกลม (circle or pie graph) เป็นสื่อที่สร้างความเข้าใจได้ง่าย ใช้แสดงข้อมูลเปรียบเทียบอัตราส่วนของส่วนประกอบต่างๆ
___7.4 แผนสถิติแบบรูปภาพ (pictorial graph) เป็นแผนสถิติที่น่าสนใจเพราะเป็นการแปลงข้อมูลตัวเลขเป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์
___7.5 แผนสถิติแบบพื้นที่ (solid graph) เป็นการใช้พื้นที่ในการแสดงปริมาณของข้อมูลที่ต้องการเปรียบเทียบให้ดูเข้าใจง่ายขึ้น แผนสถิติแบบช่วงนี้ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างรวดเร็วแต่ให้รายละเอียดได้น้อยกว่าทุกแบบ
8. หุ่นจำลอง (models) เป็นทัศนวัสดุชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริงมีลักษณะเป็น 3 มิติ แสดงสัดส่วนและสีสันเหมือนของจริงทุกประการ หุ่นจำลองที่ใช้ในนิทรรศการมีหลายประเภทดังนี้

___8.1 หุ่นจำลองแสดงรูปทรงภายนอก (solid models)
___8.2 หุ่นจำลองแบบผ่าซีก (cutaway models)
___8.3 หุ่นจำลองแบบแยกส่วน (build – up models)
___8.4 หุ่นจำลองแบบเคลื่อนไหวทำงานได้ (working models)9. ของจริง (real objects) ได้แก่ สิ่งของที่มีสภาพเป็นของเดิมแท้ๆ ของสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และอาจเป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตผู้ชมสามารถรับรู้และเรียนรู้ของจริงได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ประเภทของจริงที่นำมาใช้ในการจัดนิทรรศการแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ

___9.1 ของจริงตามสภาพเดิม (unmodified real objects) เป็นของจริงที่ยังรักษาสภาพที่เป็นจริงแบบเดิม ๆ ทุกอย่าง ซึ่งของจริงนั้นอาจเป็นสิ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นก็ได้
___9.2 ของจริงแปรสภาพ (modified objects) เป็นของจริงที่ถูกเปลี่ยนสภาพจากลักษณะเดิม เช่น การใช้สีทาระบายเพื่อแสดงความแตกต่างอย่างชัดเจน การเสริมวัสดุให้แข็งแรงขึ้น หรือการตัดแต่งเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสถานที่ที่ใช้จัดนิทรรศการ
___9.3 ของตัวอย่าง (specimens) เป็นของจริงถูกนำมาเสนอเพียงบางส่วนของทั้งหมด เช่น ดินมีหลายชนิดแต่นำมาแสดงให้เป็นตัวอย่างเพียง 2 ชนิด หินบนดวงจันทร์มีหลายชนิดหลายลักษณะแต่เก็บมานำเสนอเพื่อเป็นตัวอย่างในนิทรรศการเพียงชนิดเดียว เป็นต้น
___9.4 สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ (electronics materials) ได้แก่ สื่อที่ใช้กระแสไฟฟ้าใน การทำงาน ส่วนใหญ่ใช้ประกอบกับเครื่องหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่น เทปวิดีทัศน์ เทปเสียง แผ่นซีดี เป็นต้น.สื่ออุปกรณ์1. สื่ออุปกรณ์ประเภทเครื่องเสียง เป็นสื่อโสตอุปกรณ์ (audio equipment) ที่มีความจำเป็นในการจัดนิทรรศการ ช่วยในการปรับเสียงผู้พูดให้ผู้ฟังรับรู้ได้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกในการสื่อความหมายและการถ่ายทอดความรู้ในนิทรรศการ ทั้งในบริเวณงานที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ ภายในห้องประชุม และห้องจัดนิทรรศการ ซึ่งมีรายละเอียดและวิธีใช้ดังนี้

___1.1 ไมโครโฟน (microphone) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียง ไมโครโฟนมีหลายชนิดแต่ไม่ว่าเป็นชนิดใดย่อมมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของไมโครโฟนเหมือนกันคือค่าความต้านทาน
___1.2 เครื่องขยายเสียง (amplifier) การใช้เครื่องขยายเสียงที่ถูกต้องควรศึกษาถึงกำลังขยายของเครื่องว่าเป็นเครื่องใช้กับไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ (AC) หรือกระแสตรง (DC) กี่วัตต์ (watt) กี่โวลต์ (volt)
___1.3 ลำโพง (speaker) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่ขยายแล้วให้กลับเป็นสัญญาณเสียงเหมือนเสียงจากแหล่งกำเนิด โดยกระบวนการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าไหลผ่านขดลวด เสียงของลำโพงทำให้ขดลวดเสียงเคลื่อนที่พาเอากรวยของลำโพงสั่นไปตามความถี่ของสัญญาณไฟฟ้า2. สื่ออุปกรณ์ประเภทเครื่องฉาย การจัดกิจกรรมประกอบนิทรรศการหลายกิจกรรม จำเป็นต้องใช้เครื่องฉายเป็นอุปกรณ์สำคัญในการดำเนินงาน ซึ่งแต่ละเครื่องมีรายละเอียดและวิธีใช้ดังนี้
___2.1 เครื่องฉายข้ามศรีษะ (overhead projector) เป็นเครื่องฉายที่ใช้แผ่นโปร่งใส มีวิธีใช้ง่าย ๆ ตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อน
___2.2 เครื่องฉายข้ามศีรษะที่ดีควรมีลักษณะดังนี้คือ มีกำลังส่องสว่างสูงสามารถเปลี่ยนหลอดได้สะดวกและรวดเร็ว เลนส์มีขนาดเหมาะสมกับขนาดของห้องฉายและให้ภาพคมชัด เครื่องเดินเงียบสม่ำเสมอ ไม่มีเสียงรบกวนจากพัดลม แข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบาเคลื่อนย้ายง่าย
___2.3 เครื่องฉายแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) เป็นเครื่องฉายที่แสดงผลด้วยคริสทัลโมเลกุลซึ่งอัดอยู่กลางระหว่างแผ่นกระจก โมเลกุลเหล่านี้ จะมีการจัดเรียงตัวกันใหม่ในลักษณะทึบแสงเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ทำให้มองเห็นเป็นภาพหรือตัวอักษร เครื่องแอลซีดีสามารถฉายภาพได้จากอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้
___2.4 เครื่องวิชวลไลเซอร์ (visualizer) เป็นเครื่องฉายแปลงสัญญาณที่ฉายได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว การฉายภาพนิ่งสามารถฉายได้ทั้งภาพทึบแสง ภาพโปร่งแสงและภาพจากวัสดุ 3 มิติ โดยการวางวัสดุที่ต้องฉายลงบนแท่นฉายเพื่อให้กล้องที่อยู่เหนือแท่นฉายจับภาพวัสดุ.สื่อกิจกรรม
......สื่อกิจกรรมที่นิยมใช้ในการจัดนิทรรศการมีหลายประเภท ไม่จำเป็นต้องใช้หลายอย่างแต่ควรเลือกประเภทที่เหมาะสมกับคุณลักษณะและองค์ประกอบของงาน ที่สำคัญคือต้องพิจารณาจำนวนผู้เข้าชม กำหนดวัน เวลา และสถานที่ของการจัดกิจกรรมใช้เป็นประโยชน์ที่สุดและเป็นเอกภาพ สื่อกิจกรรมโดยทั่วไปได้แก่
1. การบรรยาย การบรรยายคือการถ่ายทอดข้อมูลหรือสิ่งที่ต้องการสื่อสารด้วย บอกเล่าเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่จัดประกอบนิทรรศการทั่วไป ซึ่งผู้บรรยายควรเตรียมการศึกษาค้นคว้าและฝึกฝนมาเป็นอย่างดี จึงบรรยายได้อรรถรถชวนติดตาม ผู้บรรยายที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่บรรยายอย่างลึกซึงแจ่มแจ้งหรือเปนผู้มีชื่อเสียงมักจะไม่รับความสนใจซึ่งมีสวนให้นิทรรศการ ประสบความสำเร็จด้วยดี
2. การประชุมสัมมนา เป็นการจัดลักษณะในกลุ่มอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสบการณ์หรือเป็นการระดมความคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เหมาะสำหรับกรณีผู้เข้าร่วมสัมมนามีประสบการณ์มากและมีความรู้ระดับอาวุโส ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน มีความเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็น ไม่มีวิทยากร มีแต่ผู้ประสานงานหรือผู้จัดดำเนินการคอยอำนวยความสะดวกและ ให้บริการ ผู้เข้าสัมมนาจะเลือกผู้นำกลุ่มสัมมนาจากผู้เข้ารวมสัมมนาด้วยกันเพื่อเป็นตัวแทนใน การรายงานผลการอภิปรายและดำเนินการสัมมนาไปตามตารางที่กำหนดไว้
3. การสาธิต เป็นกิจกรรมที่ถ่ายทอดเนื้อหาสาระด้วยการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อมกับการบรรยายหรืออธิบายเป็นลำดับขั้นตอน โดยทั่วไปจะประกอบด้วย ขั้นเตรียม ขั้นสาธิต ขั้นสรุปและประเมินผล โดยผู้ชมนิทรรศการมีส่วนร่วมในการสังเกตและร่วมกิจกรรมไปด้วยเป็นระยะ ๆ กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับกิจกรรมปฏิบัติที่เป็นกระบวนการมีลำดับขั้นตอน เช่น การสาธิต การประกอบอาหาร การเล่นกีฬา การทำงานศิลปะการประดิษฐ์ต่าง ๆ การทำปุ๋ยชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีและเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ ๆ เป็นต้น
4. การแสดงบทบาทสมมุติและสถานการณ์จำลองเป็นกิจกรรมที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นกระบวนการที่มีการกำหนดหัวข้อเรื่องปัญหาหรือกำหนดสถานการณ์ขึ้นมาให้คล้ายกับสภาพความเป็นจริง ถ้าเป็นบทบาทสมมุติจะมีการกำหนดให้ผู้ชมนิทรรศการสวมบทบาทและแสดง บทบาทตามกำหนด เช่น มีบทบาทเป็นผู้จัดการ เป็นครู เป็นนักบิน ผู้สวมบทบาทจะแสดงบทบาทตามความรู้สึกนึกคิดและประสบการณ์ว่าผู้จัดการ ครู และนักบินควรทำอย่างไร ส่วนสถานการณ์จำลอง ไม่ต้องมีการกำหนดบทบาทแต่ให้ผู้ชมนิทรรศการฝึกการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจจากสภาพการณ์ที่เขากำลังเผชิญอยู่ด้วยความรู้สึกนึกคิดและประสบการณ์ของเขาเอง ดังนั้นการแสดงบทบาทสมมุติจึงแบ่งได้เป็น2 แบบคือ บทบาทสมมุติแบบละครและบทบาทสมมุติในการแก้ปัญหา
4.1 บทบาทสมมุติแบบละคร เป็นการแสดงบทบาทตามเรื่องราวที่มีอยู่แล้ว ผู้แสดงจะได้ทราบเรื่องราวว่าจะขึ้นต้นหรือลงท้ายอย่างไร แต่จะไม่สามารถออกตามเนื้อเรื่องอย่างละเอียด ผู้แสดงบทบาทต้องแสดงออกเอง
4.2 บทบาทสมมุติในการแก้ปัญหา เป็นการแสดงบทบาทที่ผู้แสดงจะได้รับทราบสถานการณ์หรือเรื่องราวเพียงเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหรือ มีความขัดแย้งแฝงอยู่ ผู้แสดงบทบาทจะใช้ความคิดของตนในการแสดงออกอย่างเสรีเพื่อการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
......ทิศนา แขมมณี ได้เสนอแนะเทคนิคในการใช้วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมุติให้มีประสิทธิภาพไว้ 6 ขั้นซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นสื่อกิจกรรมประกอบนิทรรศการทางการศึกษาได้ดังนี้
___ขั้นที่ 1 การเตรียม ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะให้ชัดเจน แล้วสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมุติที่จะช่วยสนองวัตถุประสงค์นั้น อาจเป็นบทบาทสมมุติแบบละครหรือเป็นบทบาทสมมุติแบบแก้ปัญหาก็ได้
___ขั้นที่ 2 การเริ่มบทเรียน ผู้สอนสามารถกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนหรือผู้ชมได้หลายวิธี เช่น การเชื่อมโยงประสบการณ์ใกล้ตัว หรือใช้วิธีเล่าเรื่องราวสมมุติให้มีความขัดแย้งเพื่อกระตุ้นให้อยากคิด อยากติดตาม
___ขั้นที่ 3 การเลือกผู้แสดง ควรเลือกให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการแสดงหากผู้แสดงมีลักษณะเหมาะสมกับบทบาท จะช่วยให้การแสดงเป็นไปอย่างราบรื่นทำให้บรรลุ วัตถุประสงค์บทเรียนได้อย่างรวดเร็ว
___ขั้นที่ 4 การเตรียมผู้สังเกตการณ์หรือผู้ชม ผู้สอนควรแนะนำและทำความเข้าใจกับผู้ชมว่าการแสดงบทบาทสมมุติที่จัดขึ้นมิได้มุ่งความสนุกสนานอย่างเดียวแต่มุ่งให้เกิดการเรียนรู้เป็นสำคัญ ดังนั้นผู้ชมควรสังเกตและให้คำแนะนำด้วย
___ขั้นที่ 5 การแสดง ก่อนการแสดงอาจมีการจัดฉากให้ดูสมจริงบ้างแต่ไม่ควรใช้เวลามาก การแสดงไม่ควรใช้เวลานานเกินไป หากการแสดงยืดยาวออกนอกเรื่องหรือมี เหตุการณ์ไม่เหมาสม ผู้สอนต้องตัดบทเพื่อให้การแสดงเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์
___ขั้นที่ 6 การวิเคราะห์อภิปรายผลการแสดง เป็นขั้นสำคัญมากที่จะช่วยให้ผู้แสดงเกิดการเรียนอย่างชัดเจน อาจใช้วิธีสัมภาษณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของผู้แสดงและ ผู้ชม จากนั้นจึงช่วยกันสรุปประเด็นโดยเน้นความรู้สึกภายในและการแสดงบทบาทเป็นกรณีเรียนรู้
5. การเล่นเกม เป็นกิจกรรมการแข่งขันที่มีกติกาสำหรับการเล่น อาจแข่งกับตนเองหรือผู้อื่นก็ได้ เกมมีประโยชนหลายอย่างคือทำให้ได้รับความเพลิดเพลิน ร่าเริง สนุกสนาน ตื่นเต้น กระตือรืนร้น มีระเบียบ อยู่ในกฎเกณฑ์ กติกา รู้จักแก้ปัญหา มีสมาธิ รู้จักการอยู่ร่วมกันกับเพื่อน สามารถอดทนรอคอยจนกว่าจะถึงคราวของตน “การเล่นและเกมไม่เพียงแต่จะสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเชื่อถือเท่านั้ แต่ยังทำให้เกิดความหมายที่บริสุทธิ์ และลึกซึ่งเกี่ยวกับกิจกรรมที่ปกติของชีวิต”
6.การนำการเล่นเกมมาใช้เป็นสื่อในนิทรรศการควรดัดแปลงเกมและวิธีการเล่นให้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกิจกรรมอื่น ๆ ของนิทรรศการ เช่น นิทรรศการทางศิลปวัฒนธรรมอาจใช้เกมพื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่น นิทรรศการทางการศึกษาเหมาะที่จะใช้เกมเกี่ยวกับทักษะ (skill games) ผลของการเล่นเกมประเภทนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น เช่น เกมปริศนาอักษรไขว้ (cross word) หมากรุก จับคู่ ต่อภาพ โดมิโน หรืออาจเป็นเกมที่ไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่นแต่เกี่ยวกับโอกาส (game of change) เช่นเกมเสี่ยงโชคต่าง ๆ ที่ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมที่จะเกิดการเรียนรู้หรือสื่อสารสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการ
7. การแสดงและการละเล่น เป็นสื่อกิจกรรมที่ให้ความเพลิดเพลิน สนุกสนานเรียกความสนใจจากผู้ชมนิทรรศการได้ การแสดงที่ดีควรสอดคล้องและส่งเสริมวัตถุประสงค์ของ การจัดนิทรรศการ การแสดงที่นิยมจัดในนิทรรศการ ได้แก่ ดนตรีสากล คอนเสิร์ต ดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้าน การแสดงพื้นบ้าน รีวิว วิพิธทัศนา ละคร นาฏศิลป์ นาฏลีลา นอกจากนี้ยังมี การแสดงประเภทมหรสพ ซึ่งจัดในนิทรรศการขนาดใหญ่ เช่น ลิเก โขน ลำตัด หนังตะลุง มโนราห์ หมอลำ ส่วนการละเล่นที่นำมาใช้เป็นสื่อสำหรับการจัดนิทรรศการ เช่น การละเล่นของเด็กไทย การละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น
8. การจัดประกวดและการแข่งขันทักษะต่าง ๆ สามารถกระตุ้นความสนใจของผู้เข้าประกวดแข่งขันและผู้ชมนิทรรศการได้ดี ทำให้เกิดการศึกษาค้นคว้าหาเทคนิควิธีการต่าง ๆ ในเรื่องที่ประกวดและแข่งขัน เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถได้รวดเร็ว เนื้อหาของการจัดประกวดและแข่งขันอาจเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการ เช่น การประกวดเรียงความ การเขียนคำขวัญ การวาดภาพ การประกวดพืช ผัก ผลไม้และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ประกวดสัตว์เลี้ยง ประกวดสุขภาพ ประกวดโครงงานและโครงการต่าง ๆ แข่งขันกีฬา แข่งขันดนตรี แข่งขันประดิษฐ์หุ่นยนต์ แข่งขันจัดตู้ปลา แข่งขันทอผ้า แข่งขันตอบปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการนั้น ๆ