วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2551

ขั้นตอนการจัดนิทรรศการและทำอธิบาย

ขั้นตอนในการจัดนิทรรศกา
......มีขั้นตอนในการดำเนินงานอย่างน้อย 4 ขั้นตอนเหมือนกันคือ ขั้นการวางแผน (planning stage) ขั้นปฏิบัติการผลิตสื่อและติดตั้ง (media production stage) ขั้นการนำเสนอ (presentation stage) และขั้นการประเมินผล (evaluation stage) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้.1.ขั้นการวางแผน
......ทำอะไร หรือจะจัดกิจกรรมอะไร คณะผู้ดำเนินงานต้องระบุชื่อหรือประเภทของกิจกรรมนั้น ๆ ให้ชัดเจน เช่น การจัดนิทรรศการ การจัดจุลนิทัศน์ การรณรงค์ การจัดมหกรรม การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
.....ทำไปทำไม หรือจะจัดเพื่ออะไร เมื่อกำหนดว่าจะทำกิจกรรมอะไร ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรมนั้นเป็นสำคัญ เช่น การจัดจุลนิทัศน์แสดงสินค้าเพื่อส่งเสริมการขาย การจัดนิทรรศการวันมาฆบูชาเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมพุทธศาสนา การจัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์เพื่อรักษาประเพณีอันดีงามของไทย เป็นต้น
......ทำที่ไหน สถานที่หรือบริเวณอยู่ที่ไหนห่างไกลจากชุมชนกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ การคมนาคมสะดวกมากน้อยเพียงใด
......ทำเมื่อใด หรือกิจกรรมนั้นจะจัดขึ้นเมื่อใด อาจเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ วันเปิดอาคารใหม่ วันต้อนรับอาคันตุกะที่สำคัญ หรือจัดระหว่างวันเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันสำคัญทางศาสนา ฯลฯ
......ทำเพื่อใคร หรือใครคือกลุ่มเป้าหมายหลักที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมนิทรรศการที่จัดขึ้นแต่ละครั้ง ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการจัดนิทรรศการ มีอิทธิพลต่อการกำหนดองค์ประกอบอื่น ๆ แทบทุกด้าน
......ทำอย่างไรหรือจะจัดกิจกรรมอย่างไร เป็นคำถามสุดท้ายที่สำคัญที่สุดซึ่งจะนำไปสู่ การลงมือปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ให้มีประสิทธิภาพทำได้อย่างไร......นอกจากคำถามพื้นฐานสำคัญในการวางแผนทั่ว ๆ ไปดังกล่าว อาจวางแผนโดยยึดหลักการบริหาร
......การวางแผนในการจัดนิทรรศการที่สำคัญได้แก่ การวางแผนเกี่ยวกับผู้ชม การวางแผนเกี่ยวกับเรื่องและเนื้อหา
......เมื่อประมวลคำถามและแนวความคิดเกี่ยวกับการวางแผนดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่าในขั้นการวางแผน ควรมีการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาในเรื่องการตั้งวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและกิจกรรม สถานที่ เวลา งบประมาณ การออกแบบนิทรรศการ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบและการประชาสัมพันธ์
___1. การตั้งวัตถุประสงค์
______การจัดนิทรรศการเพื่อจำหน่ายสินค้า
______การจัดนิทรรศการเพื่อเปิดตัวและแนะนำสินค้า
______การจัดนิทรรศการทางการศึกษา­­
______การจัดนิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
___2. กลุ่มเป้าหมาย
______เพศ
______วัย
______ระดับการศึกษา
______อาชีพ
______ความเชื่อ
______สภาพเศรษฐกิจ
______สถานภาพทางสังคม
___3. เนื้อหาและกิจกรรม
______กลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการ
______กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา
______กลุ่มเป้าหมายเป็นชาวนา
______กลุ่มเป้าหมายเป็นนักธุรกิจ
___4. ระยะเวลา
___5. สถานที่
______ทำเลที่ตั้ง
______บริเวณขอบเขต
______งบประมาณ
______ค่าสถานที่
______ค่าไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์สำหรับแสงสว่างทั่วไป
______ค่าใช้จ่ายด้านโสตทัศนูปกรณ์
______ค่าใช้จ่ายในการจัดหาสื่อในการจัดแสดง
______ค่าวัสดุประกอบการตกแต่งและติดตั้ง
______ค่าวัสดุที่ใช้ในการผลิตและตกแต่ง
______ค่าจัดทำเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
______ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อมวลชนต่าง ๆ
______ค่าใช้จ่ายสำหรับกิจกรรมประกอบทุกประเภท
______ ค่าพาหนะขนส่งและค่าน้ำมันเชื้อเพลิ
______ ค่าอาหาร น้ำดื่ม
______ ค่าบริการทางด้านสาธารณูปโภค
______ ค่าใช้จ่ายในฝ่ายพิธีการ
______ ค่าใช้จ่ายสำรองในกรณีฉุกเฉินที่ต้องแก้ปัญหา
______ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
___6. การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ
______ฝ่ายควบคุมนิทรรศการ
______ฝ่ายศิลปกรรม
______ฝ่ายช่าง
______ฝ่ายวิชาการ
______ฝ่ายการเงิน
______ฝ่ายสถานที่
______ฝ่ายประชาสัมพันธ์
______ฝ่ายประเมินผล
______ฝ่ายพิธีการ
______ ฝ่ายประสานงาน
2. ขั้นปฏิบัติการผลิตสื่อและติดตั้ง
___2.1 การออกแบบในงานนิทรรศการ การออกแบบเป็นหัวใจสำคัญในการจัดนิทรรศการ ช่วยให้งานดูโดดเด่นกระตุ้นความสนใจ
______การออกแบบโครงสร้าง ได้แก่โครงสร้างทางกายภาพของงานนิทรรศการทั้งหมด ซึ่งได้แก่โครงสร้างของพื้นที่ที่ใช้ในการจัดแสดงและสิ่งก่อสร้างต่างๆ
______การออกแบบตกแต่ง เป็นการออกแบบเพื่อทำให้งานนิทรรศการมีความโดดเด่น สวยงาม ดึงดูดความสนใจ และสื่อความหมายกับผู้ชม
______การออกแบบสื่อ 2 มิติ เป็นสื่อประเภทงานกราฟิกที่ใช้ในการเสนอเนื้อหาเพื่อถ่ายทอดให้ผู้ชมเกิดการเรียนรู้โดยตรง
______การออกแบบสื่อ 3 มิติเป็นการสร้างสรรค์สื่อที่มีทั้งความกว้างความยาวและความหนา
______การออกแบบสื่อประสมหรือสื่อมัลติมีเดีย ปัจจุบันการออกแบบและการนำเสนอผลงานทำได้สะดวกรวดเร็วโดยใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการดำเนินงาน
______การออกแบบสื่อกิจกรรม เป็นสื่อการแสดงที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมหรือบุคคลในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และการนำเสนอ
___2.2 การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ การจัดนิทรรศการแต่ละครั้งต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก เช่น อุปกรณ์หลักในการจัดสถานที่ อุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง อุปกรณ์เกี่ยวกับแสงเสียงและไฟฟ้า วัสดุอุปกรณ์เพื่อการแสดงและตกแต่ง โสตทัศนวัสดุ
___2.3 การลงมือติดตั้งสื่อต่าง ๆ เป็นขั้นจัดวางสิ่งของวัสดุอุปกรณ์ให้เป็นไปตามผังที่ออกแบบไว้แล้ว การดำเนินงานในขั้นนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากฝ่ายต่าง ๆ เช่น ฝ่ายวิชาการ ช่างศิลป์ ช่างไม้ ช่างไฟฟ้า ช่างเทคนิคด้านโสตทัศนูปกรณ์ เป็นต้น
___2.4 การควบคุมดูแลความปลอดภัย เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ชมได้รับอันตรายใด ๆ จากการเข้าชมนิทรรศการ
.3. ขั้นการนำเสนอ......ในขั้นนี้เป็นการแสดงเนื้อหาข้อมูลหรือสื่อต่าง ๆ ให้ผู้ชมได้รับรู้ ทดลอง จับต้องหรือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่วางแผนออกแบบและติดตั้งไว้ โดยทั่วไปประกอบด้วย พิธีเปิดนิทรรศการ การนำชม ดำเนินกิจกรรมและการประชาสัมพันธ์ภายใน เป็นต้น
___1.1 พิธีเปิดนิทรรศการ สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมในพิธีเปิด คือ เครื่องขยายเสียงคุณภาพดี แท่นยืนสำหรับประธาน คำกล่าวรายงานของผู้รายงาน และคำกล่าวเปิดงานสำหรับประธานในพิธี หากเป็นไปได้คำกล่าวเปิดงานควรเสนอต่อประธานเพื่ออ่านก่อนถึงพิธีเปิดจะเป็นผลดียิ่ง
___1.2 การนำชมและดำเนินกิจกรรม หลังจากพิธีเปิดเสร็จสิ้นลง คณะผู้จัดนิทรรศการนำประธานและผู้เข้าชมเดินชมนิทรรศการตามจุดสำคัญ ๆ ของงาน แต่ละจุดมีพิธีกรบรรยายถ่ายทอดความรู้ที่จัดแสดง ตลอดจนให้คำแนะนำหรือตอบคำถามจากผู้ชม
___1.3 การประชาสัมพันธ์ภายใน เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ชมในการเข้าชมนิทรรศการด้วยสื่อหลายชนิด เช่น ป้ายผังรวมของงานหรือแผ่นปลิวบอกตำแหน่งที่ตั้งของแต่ละหน่วยงาน .4. ขั้นการประเมินผล
......การประเมินผลเป็นงานสุดท้ายที่มีความสำคัญที่สุดของการปฏิบัติงานทุกชนิด เพราะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานแต่ละครั้ง___1.1 การประเมินภายในจากกลุ่มผู้จัด
___1.2 การประเมินจากกลุ่มผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมาย.แนวทางการจัดนิทรรศการที่ดี
___1. เนื้อหาที่นำมาจัดนิทรรศการต้องตรงกับความสนใจและมีความหมายต่อการเรียนรู้ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
___2. เนื้อหาที่จัดแสดงในจุดหนึ่ง ๆ ควรมีจุดมุ่งหมายเดียวหรือแนวคิดเดียว แสดงออกถึงความมีเอกภาพทั้งด้านเนื้อหา ความรู้ ความคิด และองค์ประกอบทางกายภาพ___3. ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าการจัดนิทรรศการที่ดีต้องจัดให้ผู้ชมดู
___4. ตัวหนังสือที่ใช้ในการจัดนิทรรศการควรเป็นแบบเดียวกัน สวยงามเหมาะสมกับเนื้อหา
___5. การออกแบบควรมีลักษณะง่ายสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ยากให้ดูง่าย
___6. การจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ดีจะช่วยกระตุ้นความสนใจและสื่อความหมายกับผู้ชมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
___7. พึงระวังอย่างให้การจัดแสดงผลงานที่ใช้เวลาในการเตรียมมานานกลายเป็นนิทรรศการ “ตาย”
___8. สื่อที่ใช้ในการจัดนิทรรศการควรมีหลายประเภท
___9. วัสดุที่นำมาสร้างสรรค์สื่อเพื่อนำเสนอในนิทรรศการควรมีคุณสมบัติสอดคล้องเป็นหมวดเดียวกับเนื้อหา
___10. สื่อหรือสิ่งของที่นำมาจัดแสดงหากไม่เป็นอันตรายต่อผู้ชม
___11. สถานที่ในการจัดนิทรรศการควรมีลักษณะโดดเด่น
___12. แสงและอากาศเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการจัดนิทรรศการ ผู้จัดต้องแน่ใจว่าการจัดนิทรรศการแต่ละครั้งมีแสงสว่างและอากาศดีเพียงพอ อาจจะเป็นแสงธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟ ก็ได้.ความล้มเหลวของการจัดนิทรรศการ
___1. ขาดการวางแผนที่ดี
___2. ขาดการประสานที่ดีระหว่างผู้บริหารหรือเจ้าของงานกับผู้ปฏิบัติงาน
___3. มีเวลาในการเตรียมและการดำเนินงานน้อยเกินไป
___4. การจัดนิทรรศการไม่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
___5. การจัดนิทรรศการไม่เหมาะกับเหตุการณ์หรือเทศกาล
___6. ขาดการออกแบบที่ดี
___7. ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี
___8. ขาดงบประมาณสนับสนุน
___9. มีความบกพร่องทางเทคนิคบางประการ
___10. สถานที่จัดอยู่ห่างไกลจากชุมชนกลุ่มเป้าหมาย

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2551

ประวัติสว่นตัว

นายบุญเสริมจิตต์คงไทย ชื่อเล่นแมว
เกิดวันที่19ก.ย2529
อายุ22
บ้านเลขที146/45หมู่5ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวาจ.สมุทรสงคราม

บทที1

บทที่ 1
บทนำเกี่ยวกับการจัดแสดงและนิทรรศการปัจจุบันการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์มีหลายวิธีและหลายรูปแบบแตกต่างกัน วิธีดำเนินการมีทั้งทางตรงและทางอ้อมการจัดแสดงและนิทรรศการเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการเผยแพร่ความรู้ ทัศนคติ ประสบการณ์ และการประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลทั้งในวงการการศึกษา การเมือง ธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชนความหมายของการจัดแสดง ในวงการการศึกษามีผู้ให้ความหมายและอธิบายคำว่าการจัดแสดง (display)ไว้หลายทรรศนะดังนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 อธิบายคำว่า “จุลนิทัศน์” ว่ามาจากคำว่า จุล กับ นิทัศน์จุล (ว.) เล็ก น้อย ใช้นำหน้าคำสมาสนิทัศน์(น.)ตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นอุทาหรณ์คำว่าอุทาหรณ์หมายถึง ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาอ้างให้เห็นสิ่งหรือเรื่องที่ยกขึ้นมาเทียบเคียงเป็นตัวอย่างสรุปได้ว่า จุลนิทัศน์ หรือการจัดแสดง หมายถึง สิ่งหรือเรื่องที่ยกมาแสดงเพียงเล็กน้อยพอให้เห็นเป็นตัวอย่างคำว่า “display” แปลว่า “การจัดแสดง” สรุปได้ว่าการจัดแสดงหรือจุลนิทัศน์ หมายถึง นิทรรศการขนาดเล็กมากที่นำเสนอข้อมูลวัตถุสิ่งของผลงานสินค้าหรือผลิตภัณฑ์บางส่วนพอเป็นตัวอย่างในสถานที่ที่มีการตกแต่งไว้อย่างสวยงามและเหมาะสมโดยเน้นเป็นพิเศษเพื่อเร้าใจให้ผู้ชมเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ความหมายของนิทรรศการนิทรรศการ เป็นการรวบรวมสิ่งของและวัสดุเป็นชุด ๆ เพื่อขมวดความคิดตาวัตถุประสงค์ทางการศึกษาหากเป็นกิจกรรมด้านการค้าการจัดนิทรรศการเป็นการแสดงผลงานสินค้า ผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมให้คนทั่วไปชมสรุปได้ว่า นิทรรศการ หมายถึงการจัดแสดงข้อมูลเนื้อหาผลงานต่าง ๆ ด้วยวัสดุ สิ่งของ อุปกรณ์และกิจกรรมที่หลากหลายแต่มีความสัมพันธ์กันในแต่ละเรื่องโดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีการวางแผนและออกแบบที่เร้าความสนใจให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการดูการฟังการสังเกต การจับต้องและการทดลองด้วยสื่อที่หลากหลาย ประวัติของการจัดแสดง ส่วนสำคัญของประวัติการจัดแสดงที่ควรกล่าวถึงได้แก่ ที่มาของความคิดในการจัดแสดงและการจัดแสดงเพื่อการศึกษาในประเทศไทย
1. ที่มาของความคิดในการจัดแสดงยุคก่อนประวัติศาสตร์มนุษย์เริ่มรู้จักออกแบบตกแต่งที่อยู่อาศัยภายในถ้ำรู้จักแบ่งพื้นที่ในการใช้สอยอย่างหยาบ ๆ คร่าว ๆ
2. การจัดแสดงเพื่อการศึกษาในประเทศไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยพบว่าสมัยกรุงสุโขทัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยไว้บนหลักศิลาจารึกซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมบรรจุตัวอักษรไว้ทั้ง4 ด้านพระราชวรมุนี ประวัติของนิทรรศการการจัดนิทรรศการเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับมนุษยชาติ แต่ในยุคแรกเริ่มอาจจะยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนแน่นอน ในยุคก่อนประวัติศาสตร์คงไม่มีชื่อเรียกว่านิทรรศการ หรือ exhibition, fair, expo แต่อย่างใด อาจเป็นเพียงการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ไว้ในที่ที่เคยวางเป็นประจำ การวาดภาพตามผนังถ้ำเพื่อถ่ายทอดความเชื่อ การนำสินค้ามาจัดแสดงเพื่อการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขาย ดังนั้นการนำเสนอประวัติของนิทรรศการจึงประกอบด้วยรายละเอียดตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการจัดนิทรรศการจนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งภาพแสดงประวัติของนิทรรศการ ดังต่อไปนี้
1. จุดเริ่มต้นของการจัดนิทรรศการ 2. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในยุคโบราณ
3. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในยุคกลางและยุคหลัง
4. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในประเทศอังกฤษ
5. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในประเทศรัสเซีย
6. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในประเทศเยอรมันการจัดเทศกาลแสดงสินค้าทางการเกษตรในประเทศอเมริกา
7. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าสมัยใหม่
8. การจัดนิทรรศการในประเทศไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า นิทรรศการในประเทศไทยโดยเฉพาะทางด้านการศึกษา เริ่มจัดขึ้นในวัดและในวัง
9. ภาพแสดงประวัติของนิทรรศการ ความสำคัญของนิทรรศการ นิทรรศการเป็นสื่อที่มีคุณค่าและมีศักยภาพสูงในการดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้ดีเนื่องจากความหลากหลายของสื่อสามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้ชมได้กล่าวถึงความสำคัญของนิทรรศการไว้ว่า“เป็นวิธีการอันทรงประสิทธิิภาพในการกระตุ้นให้ผู้คนสนใจในวัตถุและแนวความคิดอ่านเป็นวิธีที่มักเข้าถึงประชาชนได้เมื่อวิธีการอย่างอื่นๆ

บทที่2

ลักษณะของนิทรรศการ
......การจัดแสดงหรือจุลนิทัศน์เป็นการจัดนิทรรศการขนาดเล็กการจัดจุลนิทัศน์มีลักษณะสำคัญดังนี้ มีพื้นที่ขนาดเล็ก อุปกรณ์น้อยชิ้นใช้พื้นที่น้อย เนื้อหามีเรื้องเดียว เมื่อนำจุลนิทัศน์มารวมกันเป็นนิทรรศการ ดึงดูดสายตาคนที่ผ่านไปผ่านมา เร้าความสนใจได้ดี ก่อให้เกิดความปารถนาที่จะเป็นเจ้าของ โน้มน้าวให้คนเชื่อมั่นที่จะซื้อสินค้า กระตุ้นให้ตัดสินใจซื้อ ทำให้เกิดความพอใจและประทับใจนิทรรศการทั่วไปแบ่งเป็น 4 ขนาดตามพื้นที่ๆ จัดแสดง
1. นิทรรศการขนาดเล็ก มีพื้นที่น้อยกว่า 37ตารางเมตร
2. นิทรรศการขนาดกลาง มีพื้นที่ตั้งแต่ 38 – 148 ตารางเมตร
3. นิทรรศการขนาดใหญ่ มีพื้นที่ตั้งแต่ 149 - 371ตารางเมตร
4. นิทรรศการขนาดยักษ์ มีพื้นที่มากว่า 371ตารางเมตรขึ้นไปการจัดนิทรรศการมีลักษณะสำคัญดังนี้ มักจัดในโอกาสพิเศษ มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย.มหกรรม
......เป็นนิทรรศการขนาดใหญ่โตมโหฬารมีลักษณะสำคัญดังนี้ ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่มาก ใช้งบประมาณมาก กลุ่มเป้าหมายเป็นคนจากทั่วโลก แสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี.นิทรรศการเพื่อการศึกษา
......เป็นการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนโดยมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ ทำให้ผู้ชมได้ความรู้เป็นสำคัญ ส่งเสริมให้ผู้ชมมีทัศนคติที่ดีทางการศึกษา จัดได้ทั้งในห้องเรียน ในโรงเรียน นอกโรงเรียน ที่ชุมชน จัดได้ทั้ง นิทรรศการชั่วคราว นิทรรศการเคลื่อนที่ และนิทรรศการถาวร จัดขึ้นที่องค์กรต่างๆ ให้ความรู้ได้อย่างดี เช่น พิพิธภัณฑสถานประจำจังหวัด โรงพยาบาล องค์การบริการส่วนตำบล เป็นต้น.นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
......นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์เน้นเพื่อการสร้างความสำพันธ์ระหว่างประชาชนกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ มีลักษณะสำคัญดังนี้ มีการรวบรวมข้อเท็จจริง ให้ผู้ชมมีทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงาน มีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจนเชื่อถือได้ จัดตามเทศกาลต่างๆ มีรูปแบบที่หลากหลายแปลกใหม่ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆเช่น การตอบปัญญา การตอบแบบสอบถาม เป็นต้น.นิทรรศการเพื่อการค้า
......นิทรรศการเพื่อการค้าจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการขายสินค้ามีลักษณะสำคัญดังนี้ เพื่อขายสินค้า โดยเน้นโฆษณาประชาสัมพันธ์ จัดโดยนักธุรกิจภาคเอกชน มีรูปแบบนิเทศการถาวร เพื่อจะจัดขายได้ระยะเวลานาน เน้นสื่อโฆษณา มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการขายเช่น ของตัวอย่าง ของแถม และคูปอง เป็นต้น.นิทรรศการถาวร
......เป็นการจัดนิทรรศการที่สมบูรณ์แบบที่สุดเพราะต้องใช้การเตรียมทำข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด เพราะต้องจัดอย่างต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานาน มีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้ จัดที่ใดที่หนึ่งเป็นระยะเวลานาน มีการลงทุนสูง วัสดุที่ใช้จัดมีความคงทน มีการออกแบบอย่างพิถีพิถัน การทำงานมีระบบแบบแผน เป็นการจัดวิถีชีวิตในชุมชนเป็นส่วนใหญ่สืบทอดมาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่จะจัดในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ เรื่องราวที่จัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์วรรณกรรม เป็นต้นิทรรศการชั่วคราวเป็นการจัดนิทรรศการแบบชั่วคราวมักจัดตามเทศกาลต่างๆ ใช้เวลาจัดประมาณ 2 – 10 วัน มีลักษณะที่สำคัญต่อไปนี้จัดระยะสั่นเป็นครั้งเป็นคราว ตามเทศกาลต่างๆ เนื้อหาเน้นเรื่องราวใหม่ๆ สื่อที่ใช้จัดเป็นแบบชั่วคราวเป็นทั้งสื่อประเภทวัสดุและกิจกรรม.นิทรรศการเคลื่อนที่
......นิทรรศการเคลื่อนที่จะเข้าถึงพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อความสะดวกเป็นการบริการทางการศึกษา มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ จะจัดไว้เป็นชุดๆ หลายชุด เนื้อหาจะเน้นตอบสนองกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก ต้องอาศัยยานพาหนะเป็นหลัก สื่อที่ใช้มีจำนวนน้อยไม่มากชิ้นนัก.นิทรรศการในอาคาร
......เป็นการจัดนิทรรศการในร่ม มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ จัดขึ้นในที่ร่มสามารถกันแดดกันฝนได้ เนื้อหามีไม่มากนักสามาร๔จัดในพื้นที่แคบได้ เนื้อหามีความต่อเนื่องปราศจากสิ่งรบกวน มีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยอย่างดี มีการควบคุมแสงเพื่อเน้นจุดสนใจ วัสดุที่จัดเป็นทั้งแบบชั่วคราวและถาวร สามารถควบคุมบรรยากาศในห้องเรียนได้.นิทรรศการกลางแจ้ง......จัดในพื้นที่กว้างจัดได้ในบริเวณกว้าง มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ จัดนอกอาคาร จัดได้ทั้งแบบถาวรและชั่วคราว เนื้อหาเน้นสอดคล้องกับธรรมชาติ เช่น เกี่ยวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุงานเกษตรกรรม เป็นต้น.นิทรรศการกึ่งกลางแจ้ง......จัดทั้งกลางแจ้งและในร่ม มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ นิทรรศการจัดได้ทั้งในอาคารและนอกอาคาร จัดได้ทั้งถาวรและชั่วคราว จัดเนื้อหาที่หลากหลายได้เพราะจัดทั้งในอาคารและนอกอาคาร มีสื่อที่หลากหลายอาจเป็นหุ่นจำลองหรือของจริงก็ได้ สามารถออกแบตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดได้ เช่น นิทรรศการเพื่อการค้า นิทรรศการเพื่อการศึกษา นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

บทที่3

หลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการ
......โดยทั่วไปธรรมชาติของมนุษย์มีการรับรู้ที่ต่างกัน บางคนรับรู้ได้ดีจากภาพ บางคนรับรู้ได้ดีด้วยเสียง บางคนรับรู้ได้ดีด้วยตัวหนังสือ บางคนก็รับรู้ได้ดีด้วยของจริง เป็นต้น เราจึงต้องรู้หลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการ
......การรับรู้
......คือ การสัมผัสที่มีความหมายอันเกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา

– การมองเห็น หู
– ได้ยินเสียง จมูก
– การรับกลิ่น ปาก
– การรับรส ร่ายกาย
– ความรู้สึก เราจะต้องรู้ว่าสิ่งนั่นคืออะไรมาก่อน เช่น รู้ว่ารสเปี้ยวมาจากมะม่วง รู้ว่ากลิ่นนั้นเป็นกลิ่นของดอกไม้ เป็นต้น
___1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้
______1.1 เร้าความสนใจภายนอก
________1.1.1 ความเข้ม
________1.1.2 ขนาด
________1.1.3 ความแปลกใหม่และสิ่งที่มีลักษณะตัดกัน
________1.1.4 ตำแหน่งที่ตั้ง
________1.1.5 การเคลื่อนไหว
________1.1.6 ความเป็นหนึ่งเดียว
________1.1.7 ระยะทาง
________1.1.8 ความคงทน
________1.1.9 การทำซ้ำ
_____1.2 ปัจจัยที่เร้าความสนใจภายใน
________1.2.1 ความตั้งใจ
________1.2.2 แรงขับ
________1.2.3 อารมณ์ หรือคุณภาพของจิต
________1.2.4 ความสนใจ
________1.2.5 สติปัญญา
___2. การรับรู้นิทรรศการตามแนวทฤษฎีจิตวิทยาทษฎีของกลุ่ม เกสตอลท์ ซึ่งมีแนวคิดว่าองค์ประกอบสำคัญของภาพหรือสิ่งเร้าที่รับรู้โดยทั่วไปมี 2 ส่วน คือภาพและพื้น
______2.1 หลักของความใกล้ชิด หมายถึง สิ่งเร้าที่อยู่ใกล้กันทำให้เรามีแนวโน้มที่จะรับรู้เป็นพวกเดียวกันมากกว่าสิ่งที่อยู่ห่างกัน
______2.2 หลักของความคล้ายคลึง หมายถึง สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันทำให้เรามีแนวโน้มที่จะรับรู้เป็นพวกเดียวกันมากกว่าสิ่งที่แตกต่าง
______2.3 หลักการต่อเนื่อง หมายถึง สิ่งเร้าที่ปรากฏเห็นอย่างซ้ำๆ เหมือนกันในทิศทางเดียวกัน

______2.4 หลักของความประสาน เป็นการเพิ่มสิ่งเร้าที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ สิ่งผิดปรกติ หรือวัตถุที่หายไปจะกระตุ้นความสนใจใด้ดีความไม่สมบูรณ์จะก่อให้เกิดความสงสัย
......การเรียนรู้
......คือ กระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม อันเป็นผลจากประสบการณ์ ไม่ได้เกิดตามธรรมชาติ เช่น รู้พิษของยา ความเหนื่อยล้า เป็นต้นประเภทของการเรียนรู้
___1. การเรียนรู้ตามความเข้าใจ
___2. การเรียนรู้ด้านเจตคติ หรือด้านอารมณ์ หรือด้านจิตใจ
___3. การเรียนรู้ด้านกล้ามเนื้อหรือประสาทสัมผัสจิตวิทยาพัฒนาการของมนุษย์วัยต่างๆ ตั้งแต่ปฏิสนธิยันแก่ชราทำให้เรารู้ถึงธรรมชาติของมนุษย์แต่ละวัยวความสนใจและความต้องการที่แตกต่างกัน

___วัยเด็กอายุ 2 – 6 ขวบ วัยนี้ชอบจำในสิ่งที่แปลกๆ
___วัยเด็กตอนกลางอายุ 7 – 12 ขวบ พอใจกับสิ่งใหม่ๆ ชอบอ่านหนังสือ ฟังเพลง ร้องเพลง ดูโทรทัศน์ ชอบภาพยนตร์ ประเภทนิทาน ชอบทำอะไรอย่างอิสระ
___วัยรุ่นอายุ 13 – 19 ปี ชอบเรียนแบบ จะชอบรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ ความทันสมัย วัยรุ่นจะมีความสนใจเพศตรงข้าม
___วัยผู้ใหญ่อายุ 20 – 40 ปี โดยทั่วไปสนใจกับรูปร่างหน้าตา บุคลิกภาพ การแต่งกาย สนใจเรื่องเศรษฐกิจ และสังคม พออายุ 40 เริ่มสนใจเรื่องสุขภาพ

บทที4

หลักการออกแบบนิทรรศการ
……“การออกแบบ” เป็นกระบวนจัดองค์ประกอบในทุกสาขาวิชาให้มีลักษณะแปลกใหม่ สวยงามสื่อความหมายได้ดีและมีประโยชน์ในการใช้สอย โดยอาศัยความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการเป็นหลักสำคัญในการจุดประกายความคิด.ความหมายของการออกแบบ
......การออกแบบตรงกับภาษาอังกฤษว่า “design” ในภาษากรีก หมายถึง บทกวี (poetry) การออกแบบตามกฎเกณฑ์การจัดองค์ประกอบศิลป์เพื่อให้บรรลุถึงความงามอันสมบูรณ์ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของงานไม่ว่าจะเป็นบทกวี เพลง บทละคร ท่ารำ ท่าเต้น ภาพปั้น ภาพเขียน งานการแสดงต่าง ๆ หรืองานพาณิชยศิลป์
......สรุปได้ว่า การออกแบบ หมายถึง ความคิดคำนึงหรือจินตนาการเกี่ยวกับความสัมพันธ์โดยรวมขององค์ประกอบย่อยกับโครงสร้างของแต่ละเรื่อง ในการออกแบบเรื่องหนึ่ง ๆ นักออกแบบจะพยายามสร้างทางเลือกหลาย ๆ แบบโดยการสลับสับเปลี่ยนคุณสมบัติขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ขนาด พื้นผิว ตำแหน่ง ทิศทาง รูปร่าง รูปทรง จังหวะเพื่อให้ได้โครงสร้างที่เหมาะสมที่สุด ดังนั้นการออกแบบจึงเป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นเสมอ.คุณค่าของการออกแบบ มี 3 ประการ คือ
___1. เพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น การออกแบบเครื่องไฟฟ้า เครื่องใช้สำนักงานและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

___2. เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โปสเตอร์ ป้ายโฆษณา แผ่นปลิว___3. เพื่อคุณค่าทางความงาม ซึ่งเกี่ยวข้องกับทัศนศิลป์ เช่น ภาพเขียน อุนสาวรีย์ ภาพ.จุดมุ่งหมายของการออกแบบมีจุดมุ่งหมายสำคัญ 2 ประการ ได้แก่
......การออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอย เป็นกระบวนการคิดในการแก้ปัญหาโดยการจัดองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสม เพื่อสนองความต้องการด้านกายภาพ การออกแบบลักษณะนี้นักออกแบบควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
___1.1 หน้าที่หรือประโยชน์ใช้สอย (function)
___1.2 ความประหยัด (economy)
___1.3 ความทนทาน (durability)
___1.4 โครงสร้าง (construction)
___1.5 ความงาม (beauty)
......การออกแบบเพื่อความงามและความพอใจ เป็นการออกแบบที่นิยมใช้กับศิลปกรรมหรืองานวิจิตรศิลป์ทุกแขนงอันได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี นาฎศิลป์และวรรณกรรม ผลงานเหล่านี้เกิดจากการถ่ายทอด “ความงาม”.การออกแบบนิทรรศการวัตถุประสงค์ของการออกแบบนิทรรศการ
___1. เพื่อกระตุ้นความสนใจให้ประชาชนได้รับความรู้และประสบการณ์จากการจัดนิทรรศการ

___2. เพื่อเป็นการสร้างสรรค์รูปแบบของสื่อต่าง ๆ
___3. เพื่อเป็นการกระตุ้นและดึงดูดความสนใจประชาชนให้ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร
___4. การออกแบบที่ดีเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ
___5. เป็นการประหยัดเวลา งบประมาณ และแรงงานในการลองผิดลองถูกกับสถานที่จริง.หลักการออกแบบในการจัดนิทรรศการ
___1. ความเป็นเอกภาพ หมายถึงการวางรูปแบบของนิทรรศการ อันได้แก่สิ่งแสดงต่างๆ
___2. การเน้น การจัดนิทรรศการผู้ออกแบบจะต้องให้ความสำคัญในการเน้นความรู้สึกอันได้แก่ 1) จุดเน้นหรือจุดสนใจ 2) จุดรอง
__3. ความแตกต่าง เป็นการจัดที่มีความประสงค์ให้มีการขัดแย้งเพื่อแก้ปัญหาความซ้ำซาก
___4. ความกลมกลืน ความกลมกลืนในที่นี้หมายถึงการพิจารณาในส่วนรวมทั้งหมด
___5. ความเรียบง่าย เป็นภาพหรืออักษรที่สื่อความหมายชัดเจนจะช่วยให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจได้ไวขึ้น

___6. ความสมบูรณ์ เป็นการสำรวจขั้นสุดท้ายที่จะสรุปผลการออกแบบอันมีผลโดยตรงต่อส่วนรวมทั้งหมด
......จะเห็นได้ว่าหลักการออกแบบในการจัดนิทรรศการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ประกอบด้วยหลักใหญ่ ๆ อยู่ 3 ประการ ได้แก่ ความเป็นเอกภาพ ความสมดุล และการเน้น ซึ่งแต่ละส่วนมีความสัมพันธ์กัน.ความเป็นเอกภาพ
......เอกภาพ (Unity) หมายถึง ผลรวมขององค์ประกอบที่อยู่ร่วมกันได้อย่างเหมาะสมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพ ความเป็นเอกภาพแสดงออกให้เห็นรูปแบบต่าง ๆ ดังตัวอย่าง เช่น ความใกล้ชิด (proximity) การซ้ำ (repetition) ความต่อเนื่อง (continuation) ความหลากหลาย (variety) ความกลมกลืน (harmony)
___1. ความสมดุลความสมดุลเป็นลักษณะการจัดองค์ประกอบให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ชมคล้อยตามโดยไม่รู้ตัว ประเภทของความสมดุล ได้แก่ ความสมดุลแบบสมมาตร (symmetrical balance หรือ formal balance) กับความสมดุลแบบอสมมาตร (asymmetrical balance หรือ informal balance)
___2. การเน้น
......การเน้นเป็นการเลือกย้ำทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งเร้าให้มีความเข้มโดดเด่น ช่วยกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดการรับรู้นิทรรศการได้มากกว่าสิ่งแวดล้อมทั่วไป ทำให้ผู้ชมรับรู้ได้ชัดเจนกว่าส่วนอื่น ๆ ที่มีลักษณะเป็นปกติธรรมดา การเน้นอาจเน้น

บทที5

ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการ
......มีขั้นตอนในการดำเนินงานอย่างน้อย 4 ขั้นตอนเหมือนกันคือ ขั้นการวางแผน (planning stage) ขั้นปฏิบัติการผลิตสื่อและติดตั้ง (media production stage) ขั้นการนำเสนอ (presentation stage) และขั้นการประเมินผล (evaluation stage) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้.1.ขั้นการวางแผน
......ทำอะไร หรือจะจัดกิจกรรมอะไร คณะผู้ดำเนินงานต้องระบุชื่อหรือประเภทของกิจกรรมนั้น ๆ ให้ชัดเจน เช่น การจัดนิทรรศการ การจัดจุลนิทัศน์ การรณรงค์ การจัดมหกรรม การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
.....ทำไปทำไม หรือจะจัดเพื่ออะไร เมื่อกำหนดว่าจะทำกิจกรรมอะไร ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรมนั้นเป็นสำคัญ เช่น การจัดจุลนิทัศน์แสดงสินค้าเพื่อส่งเสริมการขาย การจัดนิทรรศการวันมาฆบูชาเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมพุทธศาสนา การจัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์เพื่อรักษาประเพณีอันดีงามของไทย เป็นต้น
......ทำที่ไหน สถานที่หรือบริเวณอยู่ที่ไหนห่างไกลจากชุมชนกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ การคมนาคมสะดวกมากน้อยเพียงใด
......ทำเมื่อใด หรือกิจกรรมนั้นจะจัดขึ้นเมื่อใด อาจเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ วันเปิดอาคารใหม่ วันต้อนรับอาคันตุกะที่สำคัญ หรือจัดระหว่างวันเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันสำคัญทางศาสนา ฯลฯ......ทำเพื่อใคร หรือใครคือกลุ่มเป้าหมายหลักที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมนิทรรศการที่จัดขึ้นแต่ละครั้ง ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการจัดนิทรรศการ มีอิทธิพลต่อการกำหนดองค์ประกอบอื่น ๆ แทบทุกด้าน
......ทำอย่างไรหรือจะจัดกิจกรรมอย่างไร เป็นคำถามสุดท้ายที่สำคัญที่สุดซึ่งจะนำไปสู่ การลงมือปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ให้มีประสิทธิภาพทำได้อย่างไร
......นอกจากคำถามพื้นฐานสำคัญในการวางแผนทั่ว ๆ ไปดังกล่าว อาจวางแผนโดยยึดหลักการบริหาร

......การวางแผนในการจัดนิทรรศการที่สำคัญได้แก่ การวางแผนเกี่ยวกับผู้ชม การวางแผนเกี่ยวกับเรื่องและเนื้อหา
......เมื่อประมวลคำถามและแนวความคิดเกี่ยวกับการวางแผนดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่าในขั้นการวางแผน ควรมีการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาในเรื่องการตั้งวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและกิจกรรม สถานที่ เวลา งบประมาณ การออกแบบนิทรรศการ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบและการประชาสัมพันธ์
___1. การตั้งวัตถุประสงค์
______การจัดนิทรรศการเพื่อจำหน่ายสินค้า
______การจัดนิทรรศการเพื่อเปิดตัวและแนะนำสินค้า
______การจัดนิทรรศการทางการศึกษา­­
______การจัดนิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
___2. กลุ่มเป้าหมาย
______เพศ
______วัย
______ระดับการศึกษา
______อาชีพ
______ความเชื่อ
______สภาพเศรษฐกิจ
______สถานภาพทางสังคม
___3. เนื้อหาและกิจกรรม
______กลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการ
______กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา
______กลุ่มเป้าหมายเป็นชาวนา
______กลุ่มเป้าหมายเป็นนักธุรกิจ
___4. ระยะเวลา
___5. สถานที่
______ทำเลที่ตั้ง
______บริเวณขอบเขต
______งบประมาณ
______ค่าสถานที่
______ค่าไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์สำหรับแสงสว่างทั่วไป
______ค่าใช้จ่ายด้านโสตทัศนูปกรณ์
______ค่าใช้จ่ายในการจัดหาสื่อในการจัดแสดง
______ค่าวัสดุประกอบการตกแต่งและติดตั้ง
______ค่าวัสดุที่ใช้ในการผลิตและตกแต่ง
______ค่าจัดทำเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
______ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อมวลชนต่าง ๆ
______ค่าใช้จ่ายสำหรับกิจกรรมประกอบทุกประเภท
______ ค่าพาหนะขนส่งและค่าน้ำมันเชื้อเพลิ
______ ค่าอาหาร น้ำดื่ม
______ ค่าบริการทางด้านสาธารณูปโภค
______ ค่าใช้จ่ายในฝ่ายพิธีการ
______ ค่าใช้จ่ายสำรองในกรณีฉุกเฉินที่ต้องแก้ปัญหา
______ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
___6. การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ
______ฝ่ายควบคุมนิทรรศการ
______ฝ่ายศิลปกรรม
______ฝ่ายช่าง
______ฝ่ายวิชาการ
______ฝ่ายการเงิน
______ฝ่ายสถานที่
______ฝ่ายประชาสัมพันธ์
______ฝ่ายประเมินผล
______ฝ่ายพิธีการ
______ ฝ่ายประสานงาน.2. ขั้นปฏิบัติการผลิตสื่อและติดตั้ง
___2.1 การออกแบบในงานนิทรรศการ การออกแบบเป็นหัวใจสำคัญในการจัดนิทรรศการ ช่วยให้งานดูโดดเด่นกระตุ้นความสนใจ
______การออกแบบโครงสร้าง ได้แก่โครงสร้างทางกายภาพของงานนิทรรศการทั้งหมด ซึ่งได้แก่โครงสร้างของพื้นที่ที่ใช้ในการจัดแสดงและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
______การออกแบบตกแต่ง เป็นการออกแบบเพื่อทำให้งานนิทรรศการมีความโดดเด่น สวยงาม ดึงดูดความสนใจ และสื่อความหมายกับผู้ชม
______การออกแบบสื่อ 2 มิติ เป็นสื่อประเภทงานกราฟิกที่ใช้ในการเสนอเนื้อหาเพื่อถ่ายทอดให้ผู้ชมเกิดการเรียนรู้โดยตรง
______การออกแบบสื่อ 3 มิติเป็นการสร้างสรรค์สื่อที่มีทั้งความกว้างความยาวและความหนา

______การออกแบบสื่อประสมหรือสื่อมัลติมีเดีย ปัจจุบันการออกแบบและการนำเสนอผลงานทำได้สะดวกรวดเร็วโดยใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการดำเนินงาน
______การออกแบบสื่อกิจกรรม เป็นสื่อการแสดงที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมหรือบุคคลในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และการนำเสนอ
___2.2 การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ การจัดนิทรรศการแต่ละครั้งต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก เช่น อุปกรณ์หลักในการจัดสถานที่ อุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง อุปกรณ์เกี่ยวกับแสงเสียงและไฟฟ้า วัสดุอุปกรณ์เพื่อการแสดงและตกแต่ง โสตทัศนวัสดุ
___2.3 การลงมือติดตั้งสื่อต่าง ๆ เป็นขั้นจัดวางสิ่งของวัสดุอุปกรณ์ให้เป็นไปตามผังที่ออกแบบไว้แล้ว การดำเนินงานในขั้นนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากฝ่ายต่าง ๆ เช่น ฝ่ายวิชาการ ช่างศิลป์ ช่างไม้ ช่างไฟฟ้า ช่างเทคนิคด้านโสตทัศนูปกรณ์ เป็นต้น
___2.4 การควบคุมดูแลความปลอดภัย เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ชมได้รับอันตรายใด ๆ จากการเข้าชมนิทรรศการ

.3. ขั้นการนำเสนอ
......ในขั้นนี้เป็นการแสดงเนื้อหาข้อมูลหรือสื่อต่าง ๆ ให้ผู้ชมได้รับรู้ ทดลอง จับต้องหรือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่วางแผนออกแบบและติดตั้งไว้ โดยทั่วไปประกอบด้วย พิธีเปิดนิทรรศการ การนำชม ดำเนินกิจกรรมและการประชาสัมพันธ์ภายใน เป็นต้น
___1.1 พิธีเปิดนิทรรศการ สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมในพิธีเปิด คือ เครื่องขยายเสียงคุณภาพดี แท่นยืนสำหรับประธาน คำกล่าวรายงานของผู้รายงาน และคำกล่าวเปิดงานสำหรับประธานในพิธี หากเป็นไปได้คำกล่าวเปิดงานควรเสนอต่อประธานเพื่ออ่านก่อนถึงพิธีเปิดจะเป็นผลดียิ่ง
___1.2 การนำชมและดำเนินกิจกรรม หลังจากพิธีเปิดเสร็จสิ้นลง คณะผู้จัดนิทรรศการนำประธานและผู้เข้าชมเดินชมนิทรรศการตามจุดสำคัญ ๆ ของงาน แต่ละจุดมีพิธีกรบรรยายถ่ายทอดความรู้ที่จัดแสดง ตลอดจนให้คำแนะนำหรือตอบคำถามจากผู้ชม
___1.3 การประชาสัมพันธ์ภายใน เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ชมในการเข้าชมนิทรรศการด้วยสื่อหลายชนิด เช่น ป้ายผังรวมของงานหรือแผ่นปลิวบอกตำแหน่งที่ตั้งของแต่ละหน่วยงาน .4. ขั้นการประเมินผล
......การประเมินผลเป็นงานสุดท้ายที่มีความสำคัญที่สุดของการปฏิบัติงานทุกชนิด เพราะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานแต่ละครั้ง
___1.1 การประเมินภายในจากกลุ่มผู้จัด
___1.2 การประเมินจากกลุ่มผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมาย.แนวทางการจัดนิทรรศการที่ดี
___1. เนื้อหาที่นำมาจัดนิทรรศการต้องตรงกับความสนใจและมีความหมายต่อการเรียนรู้ของผู้ชมกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
___2. เนื้อหาที่จัดแสดงในจุดหนึ่ง ๆ ควรมีจุดมุ่งหมายเดียวหรือแนวคิดเดียว แสดงออกถึงความมีเอกภาพทั้งด้านเนื้อหา ความรู้ ความคิด และองค์ประกอบทางกายภาพ
___3. ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าการจัดนิทรรศการที่ดีต้องจัดให้ผู้ชมดู
___4. ตัวหนังสือที่ใช้ในการจัดนิทรรศการควรเป็นแบบเดียวกัน สวยงามเหมาะสมกับเนื้อหา

___5. การออกแบบควรมีลักษณะง่ายสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ยากให้ดูง่าย
___6. การจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ดีจะช่วยกระตุ้นความสนใจและสื่อความหมายกับผู้ชมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
___7. พึงระวังอย่างให้การจัดแสดงผลงานที่ใช้เวลาในการเตรียมมานานกลายเป็นนิทรรศการ “ตาย”
___8. สื่อที่ใช้ในการจัดนิทรรศการควรมีหลายประเภท
___9. วัสดุที่นำมาสร้างสรรค์สื่อเพื่อนำเสนอในนิทรรศการควรมีคุณสมบัติสอดคล้องเป็นหมวดเดียวกับเนื้อหา
___10. สื่อหรือสิ่งของที่นำมาจัดแสดงหากไม่เป็นอันตรายต่อผู้ชม
___11. สถานที่ในการจัดนิทรรศการควรมีลักษณะโดดเด่น
___12. แสงและอากาศเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการจัดนิทรรศการ ผู้จัดต้องแน่ใจว่าการจัดนิทรรศการแต่ละครั้งมีแสงสว่างและอากาศดีเพียงพอ อาจจะเป็นแสงธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟ ก็ได้.ความล้มเหลวของการจัดนิทรรศการ
___1. ขาดการวางแผนที่ดี
___2. ขาดการประสานที่ดีระหว่างผู้บริหารหรือเจ้าของงานกับผู้ปฏิบัติงาน
___3. มีเวลาในการเตรียมและการดำเนินงานน้อยเกินไป
___4. การจัดนิทรรศการไม่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
___5. การจัดนิทรรศการไม่เหมาะกับเหตุการณ์หรือเทศกาล
___6. ขาดการออกแบบที่ดี
___7. ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี
___8. ขาดงบประมาณสนับสนุน
___9. มีความบกพร่องทางเทคนิคบางประการ
___10. สถานที่จัดอยู่ห่างไกลจากชุมชนกลุ่มเป้าหมาย

บทที6

เทคนิคการจัดนิทรรศการ
การจัดแผ่นป้าย
......แผ่นป้าย (board) หมายถึง แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้ เป็นวัสดุรองรับสื่อหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงซึ่งมีหลายรูปแบบหลายลักษณะแตกต่างกัน.1.ประเภทของแผ่นป้าย
___ การจำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำ ได้แก่ ไม้ พลาสติก โลหะ
___ การจำแนกตามลักษณะการติดตั้ง การจำแนกตามลักษณะการติดตั้ง ได้แก่ ป้ายที่เคลื่อนที่ได้ และป้ายที่เคลื่อนที่ไม่ได้
___ การจำแนกตามลักษณะการใช้งาน การจำแนกตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ แบบสำเร็จรูป และแบบถอดประกอบ
___ การจำแนกตามลักษณะการจัดแสดง การจำแนกตามลักษณะการจัดแสดง ได้แก่ แบบตั้งแสดง แบบแขวน แบบติดฝาผนัง.2.เทคนิคการจัดแผ่นป้าย
___แผ่นป้ายยึดติดกับขาตั้งอย่างถาวร
___แผ่นป้ายอิสระ
___แผ่นป้ายสามเหลี่ยมรูปตัวเอ
___แผ่นป้ายแบบแขวน
___แผ่นป้ายแบบโค้งงอรูปตัวเอส (S)
___แผ่นป้ายแบบกำแพง
___แผ่นป้ายสำหรับจัดร้านขายสินค้า
___แผ่นป้ายตั้งแสดง
___แผ่นป้ายผืนธง
.3. การจัดป้ายนิเทศ
.....ป้ายนิเทศ (bulletin board) เป็นสื่ออย่างหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันมากทั้งในวงการศึกษา วงการธุรกิจ วงการเมือง
......ซินแคลร์ (Sinclair, 1994, p.182) กล่าวว่า ป้ายนิเทศหรือ Bulletin Board เป็นคำศัพท์ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันมีความหมายเดียวกับคำว่า Notice board ซึ่งมีความหมายว่าแผ่นกระดาน ปกติติดตั้งไว้กับฝาผนัง หรือสถานที่จัดแสดงด้วยป้าย
......ป้ายนิเทศ เป็นทัศนวัสดุที่ใช้สำหรับแสดงเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งอาจใช้รูปภาพแผนภูมิหรือวัสดุสามมิติ ฯลฯ
.4. คุณค่าของป้ายนิเทศ
......ใช้ในการจัดแสดงแจ้งข่าวสารผู้ชมสามารถศึกษาเนื้อหาได้ซ้ำแล้วซ้ำอีกตามความพอใจ ช่วยประหยัดเวลาในการสอนและการสื่อ ความหมายเพื่อถ่ายทอดความรู้
___หลักการและเทคนิคการจัดป้ายนิเทศ
______4.1หลักการจัดป้ายนิเทศ
_________การกระตุ้นความสนใจ
_________การมีส่วนร่วม
_________การตรึงความสนใจ
_________ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
_________การเน้น
_________การใช้สี
______4.2 เทคนิคการจัดป้ายนิเทศ
_________ชื่อเรื่อง จะต้องสั้น อ่านง่าย เด่นชัด สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลดึงดูดความสนใจได้ทันที
_________ข้อความเชิญชวนหรือคำอธิบาย ควรมีลักษณะกระทัดรัด สั้นอ่านง่ายได้ใจความชัดเจน จัดช่องไฟได้เหมาะสม
_________การสร้างมิติเพื่อการรับรู้
_________การใช้สี แสง เงา
_________การเคลื่อนไหว
_________การใช้รูปภาพ
_________การจัดองค์ประกอบ
_________การตกแต่งพื้นป้ายนิเทศ
_________การจัดป้ายนิเทศร่วมกับสื่ออื่นจะช่วยให้การถ่ายทอดเนื้อหาสมบูรณ์และน่าสนใจยิ่งขึ้น
_________การใช้เนื้อหาหรือกิจกรรมเป็นตัวกำหนด.การจัดป้ายนิเทศให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์1.1 การจัดภาพบนหน้าต่างหรือแบบวินโดว์ ภาพแบบหน้าต่างหรือแบบวินโดว์ (window) เป็นการจัดเพื่อเน้นรายละเอียดด้วยรูปภาพขนาดใหญ่เพียงภาพเดียว 1.2 การจัดภาพแบบละครสัตว์ การจัดภาพแบบละครสัตว์ (circus) เป็นการจัดภาพที่มีลักษณะเป็นกลุ่มๆ1.3 การจัดภาพแบบแกน การจัดภาพแบบแกน (axial) เป็นการจัดภาพที่มีรูปภาพอยู่ตรงกลางและมีคำอธิบายกำกับทั้งด้านซ้ายและด้านขวาหรือโดยรอบ 1.4 การจัดภาพแบบกรอบภาพ การจัดภาพแบบกรอบภาพ (frame) เป็นการจัดโดยนำภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวางเรียงต่อเนื่องกันล้อมรอบเนื้อหาข้อความ

1.5 การจัดภาพแบบตาราง การจัดภาพแบบตาราง (grid) เป็นการจัดภาพไว้ในตารางซึ่งอาจเว้นช่องใดช่องหนึ่งหรืออาจขยายภาพใดภาพหนึ่งเพื่อให้เกิดจังหวะระหว่างรูปภาพทำให้ดูแปลกตา
1.6 การจัดภาพแบบแถบ การจัดภาพแบบแถบ (band) เป็นการจัดรูปภาพและเนื้อหาที่เรียงตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่ขั้นต้นถึงขั้นสุดท้าย แสดงให้เป็นลำดับขั้น
1.7 การจัดภาพแบบแกน การจัดภาพแบบแกน (path) เป็นการจัดให้รูปภาพหรือเหตุการณ์เรียงกันอย่างต่อเนื่องไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งซึ่งอาจคดเคี้ยวโค้งงอไปตามจังหวะที่สวยงาม. ลักษณะของบริเวณว่าง
......บริเวณว่างมี 2 ลักษณะได้แก่ บริเวณว่างที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์ (positive space) และบริเวณว่างที่นอกเหนือจากการใช้สอย (negative space)
1. การออกแบบบริเวณว่าง
1.1 การจัดองค์ประกอบแนวตั้ง องค์ประกอบแนวตั้ง
1.2การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้ง องค์ประกอบระนาบแนวตั้ง มีลักษณะแผนกั้นเป็นฉากหลังของพื้นที่ระนาบแนวตั้ง (linear vertical plane)
1.3 การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้งรูปตัวแอล (L) องค์ประกอบระนาบแนวตั้งรูปตัวแอล หรือระนาบมุมฉาก (L-shaped planes)
1.4 การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้งขนานกัน องค์ประกอบระนาบแนวตั้งขนานกัน หรือระนาบคู่ขนาน (parallel planes)
1.5 การจัดองค์ประกอบระนาบรูปตัวยู องค์ประกอบระนาบรูปตัวยู (U) เป็นระนาบปิดล้อมสามด้าน (U-shaped planes).การกำหนดบริเวณว่างในเชิงจิตวิทยา
......การใช้บริเวณว่างในเชิงจิตวิทยาเพื่อการเชิญชวนลูกค้าหรือผู้ชมเข้าชมและร่วมกิจกรรมควรคำนึงถึงธรรมชาติของการปฏิสัมพันธ์และการแสดงออกของผู้ชม โดยเฉพาะลูกค้าใหม่หรือผู้ชมที่ยังไม่คุ้นเคยกับสินค้าผลิตภัณฑ์ใหม่ ควรยึดหลักสำคัญคือการหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางใด ๆ ทุกชนิด.การกำหนดทางเดินชมนิทรรศการ
1. การสัญจรทิศทางเดียวชมได้ด้านเดียว
2. การสัญจรทิศทางเดียวชมได้ 2 ด้าน
3. การสัญจรอย่างอิสระตามความต้องการ

บทที7

สื่อในการจัดนิทรรศการ
ประเภทของสื่อในนิทรรศการ
......สื่อที่นำมาใช้ในนิทรรศการสามารถจำแนกตามคุณสมบัติได้ 3 ประเภทได้แก่สื่อวัสดุ สื่ออุปกรณ์ และสื่อกิจกรรม.สื่อวัสดุ.
.....สื่อวัสดุ (materials) ได้แก่ สื่อขนาดเล็ก ๆ มีน้ำหนักเบา บางทีเรียกว่า ซอฟท์แวร์ (software) มีคุณว่าต่อการเรียนรู้ของผู้ชมนิทรรศการเป็นอย่างมาก เนื่องจากสื่อประเภทนี้เป็นแหล่งเก็บรวบรวมความรู้และประสบการณ์ไว้ได้ บางชนิดสามารถสื่อความหมายได้ในตัวเอง แต่บางชนิดต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์เป็นตัวผ่านขยายจึงจะสามารถสื่อความหมายได้สมบูรณ์ชัดเจน คุณสมบัติของสื่อประเภทนี้มีทั้งชนิดถาวรและชนิดสิ้นเปลือง ตัวอย่างเช่น แผ่นปลิว แผนภูมิ แผนภาพ ภาพถ่าย ภาพโปสเตอร์ เทปวิดีทัศน์ เทปเสียง แผ่นซีดี เป็นต้น.สื่ออุปกรณ์
......สื่ออุปกรณ์ (equipments) ได้แก่ สื่อใหญ่หรือสื่อหนัก บางทีเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (hardware) เป็นสื่อประเภทเครื่องมือหรืออุปกรณ์ โดยทั่วไปมีส่วนประกอบเป็นเครื่องยนต์กลไก ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ สื่อเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นตัวผ่านขยายสื่อวัสดุให้ผู้ชมนิทรรศการรับรู้และเรียนรู้ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์ เครื่องวิชวลไลเซอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เครื่องขยายเสียง เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น.สื่อกิจกรรม
......สื่อกิจกรรม (activities) ได้แก่ กระบวนการนำเสนอความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกนึกคิดหรือข้อมูลต่าง ๆ ด้วยการกระทำเป็นขั้นตอนเน้นให้ผู้ชมนิทรรศการได้มีส่วนร่วมในการแสดงออกหรือการลงมือกระทำด้วยตนเอง เช่น การสาธิต การทดลอง การแสดงละคร การตอบปัญหา การโต้วาที การแสดงบทบาทสมมุติ การสร้างสถานการณ์จำลองและการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น.การใช้สื่อในนิทรรศการสื่อวัสดุ
......สื่อวัสดุที่นิยมใช้ในการจัดนิทรรศการ ได้แก่ แผ่นปลิว แผ่นพับ จุลสาร วารสาร ภาพโฆษณา แผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ หุ่นจำลอง ของจริง และสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
1. แผ่นปลิว (leaflets) ในงานนิทรรศการใช้แผ่นปลิวได้หลายโอกาส เริ่มตั้งแต่ประชาสัมพันธ์งานและให้ข้อมูลเนื้อหาสาระที่ต้องการสื่อสาร เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากและไม่เฉพาะเจาะจง2. แผ่นพับ (folders) เป็นสื่อวัสดุที่ให้ข้อมูลข่าวสารได้ดีอีกชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นกระดาษแผ่นใหญ่ที่นำมาพับให้มีขนาดเหมาะสมต่อการใช้งานได้หลายอย่าง
3. จุลสาร วารสาร (journal) เป็นที่นิยมมากในการจัดนิทรรศการขนาดกลางและขนาดใหญ่ และมักจะจัดทำเป็นโอกาสพิเศษสำหรับนิทรรศการนั้น ๆ
4. ภาพโฆษณา (posters) เป็นสื่อที่ทัศนวัสดุที่สร้างขึ้นเพื่อใช้กระตุ้น ชักชวน จูงใจให้ผู้ชมเกิดความสนใจเชื่อถือศรัทธาและนำไปสู่การแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป การใช้ภาพโฆษณาในนิทรรศการจะช่วยเร้าใจให้ผู้ชมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างได้ดี
5. แผนภูมิ (charts) เป็นวัสดุกราฟิกที่มีองค์ประกอบเป็นสัญลักษณ์ รูปภาพและตัวอักษร มีความทนทานและสะดวกในการเก็บรักษาแผนภูมิที่นำมาใช้ถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ในนิทรรศการจำแนกได้ 8 ชนิดดังนี้
___5.1 แผนภูมิแบบต้นไม้ (tree charts) เหมาะสมกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์แสดงให้เห็นสิ่งหนึ่ง ๆ
___5.2 แผนภูมิแบบสายธาร (steam charts) เหมาะกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสดงให้เห็นว่าสิ่งหนึ่ง ๆ เกิดจากหลายสิ่งมารวมกัน
___5.3 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง (flow charts) ใช้แสดงเนื้อหาที่เป็นลำดับขั้นตอนของการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสุดท้าย
___5.4 แผนภูมิแบบองค์การ (organization charts) ใช้แสดงความสัมพันธ์ของ สายงานในองค์การหรือหน่วยงานหนึ่ง ๆ ซึ่งอาจจำแนกตามตำแหน่งหรือกลุ่มงานก็ได้ เช่น การบริหารงานโรงเรียน การบริหารงานโรงพยาบาล การบริหารงานเทศบาล เป็นต้น
___5.5 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ (comparison charts) ใช้แสดงเปรียบเทียบ ความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ ทั้งด้านกระบวนการ รูปร่าง ลักษณะ เช่น ลักษณะยุงลายกับยุงก้นปล่อง ลมบกกับลมทะเล การขยายตัวของวัตถุที่ถูกเผากับวัตถุธรรมดา เป็นต้น
___5.6 แผนภูมิแบบตาราง (table charts) ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับเหตุการณ์ เช่น ตารางการเดินรถ ตารางเรียน ตารางการแข่งขันกีฬา ตารางแสดงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ ตารางอัตราค่าบริการ เป็นต้น
___5.7 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ (evolution charts) ใช้แสดงกระบวนการหรือลักษณะการเปลี่ยนแปลงอย่างมีการพัฒนาของสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น วิวัฒนาการของจักรยาน วิวัฒนาการของสัตว์โลกตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบัน วิวัฒนาการของเชื้อโรคไข้เลือดออก เป็นต้น

___5.8 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ (pictorial charts) ใช้ชี้แจงแสดงข้อมูลส่วนต่าง ๆ ของภาพให้เห็นชัดเจน ซึ่งอาจวางตัวหนังสือทับซ้อนภาพ6. แผนภาพ (diagrams) เป็นทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งของหรือของระบบงานด้วยภาพ แผนภาพแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
___6.1 แผนภาพลายเส้น เป็นแผนภาพที่เขียนด้วยลายเส้นแบบง่ายๆ เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ในภาพรวม เหมาะสำหรับแสดงโครงสร้าง การบอกลักษณะ ตำแหน่งแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
___6.2 แผนภาพแบบรูปภาพ เป็นการวาดภาพแสดงโครงสร้างทั้งภายในและภายนอก เพื่ออธิบายส่วนประกอบ ความสัมพันธ์ หรือกระบวนการทำงานของวัตถุนั้น
___6.3 แผนภาพแบบผสม เป็นแผนภาพที่แสดงภาพเหมือมจริงผสมผสานกับภาพลายเส้นในลักษณะของการผ่าซีก ทำให้เห็นวัตถุได้ทั้งส่วนที่เป็นภาพเหมือนจริงซึ่งกระตุ้นให้เกิดเจตคติที่ดีได้

7. แผนสถิติ (graphs) เป็นวัสดุที่เน้นการสื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข แผนสถิติแต่ละเรื่องควรแจ้งที่มาของข้อมูลต่างๆ ให้ชัดเจนเพื่อสร้างความเชื่อถือ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ชนิดดังนี้
___7.1 แผนสถิติแบบเส้น (line or curve graph)ใช้กับข้อมูลที่แสดงความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องได้ดีกว่าแบบอื่นๆ การเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่ 2 ข้อมูลขึ้นไป
___7.2 แผนสถิติแบบแท่ง (bar graph) เป็นแบบที่ใช้เปรียบเทียบข้อมูลด้วย การเทียบเคียงกันเป็นคู่ๆ
___7.3 แผนสถิติแบบวงกลม (circle or pie graph) เป็นสื่อที่สร้างความเข้าใจได้ง่าย ใช้แสดงข้อมูลเปรียบเทียบอัตราส่วนของส่วนประกอบต่างๆ
___7.4 แผนสถิติแบบรูปภาพ (pictorial graph) เป็นแผนสถิติที่น่าสนใจเพราะเป็นการแปลงข้อมูลตัวเลขเป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์
___7.5 แผนสถิติแบบพื้นที่ (solid graph) เป็นการใช้พื้นที่ในการแสดงปริมาณของข้อมูลที่ต้องการเปรียบเทียบให้ดูเข้าใจง่ายขึ้น แผนสถิติแบบช่วงนี้ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างรวดเร็วแต่ให้รายละเอียดได้น้อยกว่าทุกแบบ
8. หุ่นจำลอง (models) เป็นทัศนวัสดุชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริงมีลักษณะเป็น 3 มิติ แสดงสัดส่วนและสีสันเหมือนของจริงทุกประการ หุ่นจำลองที่ใช้ในนิทรรศการมีหลายประเภทดังนี้

___8.1 หุ่นจำลองแสดงรูปทรงภายนอก (solid models)
___8.2 หุ่นจำลองแบบผ่าซีก (cutaway models)
___8.3 หุ่นจำลองแบบแยกส่วน (build – up models)
___8.4 หุ่นจำลองแบบเคลื่อนไหวทำงานได้ (working models)9. ของจริง (real objects) ได้แก่ สิ่งของที่มีสภาพเป็นของเดิมแท้ๆ ของสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และอาจเป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตผู้ชมสามารถรับรู้และเรียนรู้ของจริงได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ประเภทของจริงที่นำมาใช้ในการจัดนิทรรศการแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ

___9.1 ของจริงตามสภาพเดิม (unmodified real objects) เป็นของจริงที่ยังรักษาสภาพที่เป็นจริงแบบเดิม ๆ ทุกอย่าง ซึ่งของจริงนั้นอาจเป็นสิ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นก็ได้
___9.2 ของจริงแปรสภาพ (modified objects) เป็นของจริงที่ถูกเปลี่ยนสภาพจากลักษณะเดิม เช่น การใช้สีทาระบายเพื่อแสดงความแตกต่างอย่างชัดเจน การเสริมวัสดุให้แข็งแรงขึ้น หรือการตัดแต่งเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสถานที่ที่ใช้จัดนิทรรศการ
___9.3 ของตัวอย่าง (specimens) เป็นของจริงถูกนำมาเสนอเพียงบางส่วนของทั้งหมด เช่น ดินมีหลายชนิดแต่นำมาแสดงให้เป็นตัวอย่างเพียง 2 ชนิด หินบนดวงจันทร์มีหลายชนิดหลายลักษณะแต่เก็บมานำเสนอเพื่อเป็นตัวอย่างในนิทรรศการเพียงชนิดเดียว เป็นต้น
___9.4 สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ (electronics materials) ได้แก่ สื่อที่ใช้กระแสไฟฟ้าใน การทำงาน ส่วนใหญ่ใช้ประกอบกับเครื่องหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่น เทปวิดีทัศน์ เทปเสียง แผ่นซีดี เป็นต้น.สื่ออุปกรณ์1. สื่ออุปกรณ์ประเภทเครื่องเสียง เป็นสื่อโสตอุปกรณ์ (audio equipment) ที่มีความจำเป็นในการจัดนิทรรศการ ช่วยในการปรับเสียงผู้พูดให้ผู้ฟังรับรู้ได้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกในการสื่อความหมายและการถ่ายทอดความรู้ในนิทรรศการ ทั้งในบริเวณงานที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ ภายในห้องประชุม และห้องจัดนิทรรศการ ซึ่งมีรายละเอียดและวิธีใช้ดังนี้

___1.1 ไมโครโฟน (microphone) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียง ไมโครโฟนมีหลายชนิดแต่ไม่ว่าเป็นชนิดใดย่อมมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของไมโครโฟนเหมือนกันคือค่าความต้านทาน
___1.2 เครื่องขยายเสียง (amplifier) การใช้เครื่องขยายเสียงที่ถูกต้องควรศึกษาถึงกำลังขยายของเครื่องว่าเป็นเครื่องใช้กับไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ (AC) หรือกระแสตรง (DC) กี่วัตต์ (watt) กี่โวลต์ (volt)
___1.3 ลำโพง (speaker) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่ขยายแล้วให้กลับเป็นสัญญาณเสียงเหมือนเสียงจากแหล่งกำเนิด โดยกระบวนการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าไหลผ่านขดลวด เสียงของลำโพงทำให้ขดลวดเสียงเคลื่อนที่พาเอากรวยของลำโพงสั่นไปตามความถี่ของสัญญาณไฟฟ้า2. สื่ออุปกรณ์ประเภทเครื่องฉาย การจัดกิจกรรมประกอบนิทรรศการหลายกิจกรรม จำเป็นต้องใช้เครื่องฉายเป็นอุปกรณ์สำคัญในการดำเนินงาน ซึ่งแต่ละเครื่องมีรายละเอียดและวิธีใช้ดังนี้
___2.1 เครื่องฉายข้ามศรีษะ (overhead projector) เป็นเครื่องฉายที่ใช้แผ่นโปร่งใส มีวิธีใช้ง่าย ๆ ตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อน
___2.2 เครื่องฉายข้ามศีรษะที่ดีควรมีลักษณะดังนี้คือ มีกำลังส่องสว่างสูงสามารถเปลี่ยนหลอดได้สะดวกและรวดเร็ว เลนส์มีขนาดเหมาะสมกับขนาดของห้องฉายและให้ภาพคมชัด เครื่องเดินเงียบสม่ำเสมอ ไม่มีเสียงรบกวนจากพัดลม แข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบาเคลื่อนย้ายง่าย
___2.3 เครื่องฉายแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) เป็นเครื่องฉายที่แสดงผลด้วยคริสทัลโมเลกุลซึ่งอัดอยู่กลางระหว่างแผ่นกระจก โมเลกุลเหล่านี้ จะมีการจัดเรียงตัวกันใหม่ในลักษณะทึบแสงเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ทำให้มองเห็นเป็นภาพหรือตัวอักษร เครื่องแอลซีดีสามารถฉายภาพได้จากอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้
___2.4 เครื่องวิชวลไลเซอร์ (visualizer) เป็นเครื่องฉายแปลงสัญญาณที่ฉายได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว การฉายภาพนิ่งสามารถฉายได้ทั้งภาพทึบแสง ภาพโปร่งแสงและภาพจากวัสดุ 3 มิติ โดยการวางวัสดุที่ต้องฉายลงบนแท่นฉายเพื่อให้กล้องที่อยู่เหนือแท่นฉายจับภาพวัสดุ.สื่อกิจกรรม
......สื่อกิจกรรมที่นิยมใช้ในการจัดนิทรรศการมีหลายประเภท ไม่จำเป็นต้องใช้หลายอย่างแต่ควรเลือกประเภทที่เหมาะสมกับคุณลักษณะและองค์ประกอบของงาน ที่สำคัญคือต้องพิจารณาจำนวนผู้เข้าชม กำหนดวัน เวลา และสถานที่ของการจัดกิจกรรมใช้เป็นประโยชน์ที่สุดและเป็นเอกภาพ สื่อกิจกรรมโดยทั่วไปได้แก่
1. การบรรยาย การบรรยายคือการถ่ายทอดข้อมูลหรือสิ่งที่ต้องการสื่อสารด้วย บอกเล่าเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่จัดประกอบนิทรรศการทั่วไป ซึ่งผู้บรรยายควรเตรียมการศึกษาค้นคว้าและฝึกฝนมาเป็นอย่างดี จึงบรรยายได้อรรถรถชวนติดตาม ผู้บรรยายที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่บรรยายอย่างลึกซึงแจ่มแจ้งหรือเปนผู้มีชื่อเสียงมักจะไม่รับความสนใจซึ่งมีสวนให้นิทรรศการ ประสบความสำเร็จด้วยดี
2. การประชุมสัมมนา เป็นการจัดลักษณะในกลุ่มอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสบการณ์หรือเป็นการระดมความคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เหมาะสำหรับกรณีผู้เข้าร่วมสัมมนามีประสบการณ์มากและมีความรู้ระดับอาวุโส ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน มีความเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็น ไม่มีวิทยากร มีแต่ผู้ประสานงานหรือผู้จัดดำเนินการคอยอำนวยความสะดวกและ ให้บริการ ผู้เข้าสัมมนาจะเลือกผู้นำกลุ่มสัมมนาจากผู้เข้ารวมสัมมนาด้วยกันเพื่อเป็นตัวแทนใน การรายงานผลการอภิปรายและดำเนินการสัมมนาไปตามตารางที่กำหนดไว้
3. การสาธิต เป็นกิจกรรมที่ถ่ายทอดเนื้อหาสาระด้วยการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อมกับการบรรยายหรืออธิบายเป็นลำดับขั้นตอน โดยทั่วไปจะประกอบด้วย ขั้นเตรียม ขั้นสาธิต ขั้นสรุปและประเมินผล โดยผู้ชมนิทรรศการมีส่วนร่วมในการสังเกตและร่วมกิจกรรมไปด้วยเป็นระยะ ๆ กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับกิจกรรมปฏิบัติที่เป็นกระบวนการมีลำดับขั้นตอน เช่น การสาธิต การประกอบอาหาร การเล่นกีฬา การทำงานศิลปะการประดิษฐ์ต่าง ๆ การทำปุ๋ยชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีและเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ ๆ เป็นต้น
4. การแสดงบทบาทสมมุติและสถานการณ์จำลองเป็นกิจกรรมที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นกระบวนการที่มีการกำหนดหัวข้อเรื่องปัญหาหรือกำหนดสถานการณ์ขึ้นมาให้คล้ายกับสภาพความเป็นจริง ถ้าเป็นบทบาทสมมุติจะมีการกำหนดให้ผู้ชมนิทรรศการสวมบทบาทและแสดง บทบาทตามกำหนด เช่น มีบทบาทเป็นผู้จัดการ เป็นครู เป็นนักบิน ผู้สวมบทบาทจะแสดงบทบาทตามความรู้สึกนึกคิดและประสบการณ์ว่าผู้จัดการ ครู และนักบินควรทำอย่างไร ส่วนสถานการณ์จำลอง ไม่ต้องมีการกำหนดบทบาทแต่ให้ผู้ชมนิทรรศการฝึกการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจจากสภาพการณ์ที่เขากำลังเผชิญอยู่ด้วยความรู้สึกนึกคิดและประสบการณ์ของเขาเอง ดังนั้นการแสดงบทบาทสมมุติจึงแบ่งได้เป็น2 แบบคือ บทบาทสมมุติแบบละครและบทบาทสมมุติในการแก้ปัญหา
4.1 บทบาทสมมุติแบบละคร เป็นการแสดงบทบาทตามเรื่องราวที่มีอยู่แล้ว ผู้แสดงจะได้ทราบเรื่องราวว่าจะขึ้นต้นหรือลงท้ายอย่างไร แต่จะไม่สามารถออกตามเนื้อเรื่องอย่างละเอียด ผู้แสดงบทบาทต้องแสดงออกเอง
4.2 บทบาทสมมุติในการแก้ปัญหา เป็นการแสดงบทบาทที่ผู้แสดงจะได้รับทราบสถานการณ์หรือเรื่องราวเพียงเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหรือ มีความขัดแย้งแฝงอยู่ ผู้แสดงบทบาทจะใช้ความคิดของตนในการแสดงออกอย่างเสรีเพื่อการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
......ทิศนา แขมมณี ได้เสนอแนะเทคนิคในการใช้วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมุติให้มีประสิทธิภาพไว้ 6 ขั้นซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นสื่อกิจกรรมประกอบนิทรรศการทางการศึกษาได้ดังนี้
___ขั้นที่ 1 การเตรียม ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะให้ชัดเจน แล้วสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมุติที่จะช่วยสนองวัตถุประสงค์นั้น อาจเป็นบทบาทสมมุติแบบละครหรือเป็นบทบาทสมมุติแบบแก้ปัญหาก็ได้
___ขั้นที่ 2 การเริ่มบทเรียน ผู้สอนสามารถกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนหรือผู้ชมได้หลายวิธี เช่น การเชื่อมโยงประสบการณ์ใกล้ตัว หรือใช้วิธีเล่าเรื่องราวสมมุติให้มีความขัดแย้งเพื่อกระตุ้นให้อยากคิด อยากติดตาม
___ขั้นที่ 3 การเลือกผู้แสดง ควรเลือกให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการแสดงหากผู้แสดงมีลักษณะเหมาะสมกับบทบาท จะช่วยให้การแสดงเป็นไปอย่างราบรื่นทำให้บรรลุ วัตถุประสงค์บทเรียนได้อย่างรวดเร็ว
___ขั้นที่ 4 การเตรียมผู้สังเกตการณ์หรือผู้ชม ผู้สอนควรแนะนำและทำความเข้าใจกับผู้ชมว่าการแสดงบทบาทสมมุติที่จัดขึ้นมิได้มุ่งความสนุกสนานอย่างเดียวแต่มุ่งให้เกิดการเรียนรู้เป็นสำคัญ ดังนั้นผู้ชมควรสังเกตและให้คำแนะนำด้วย
___ขั้นที่ 5 การแสดง ก่อนการแสดงอาจมีการจัดฉากให้ดูสมจริงบ้างแต่ไม่ควรใช้เวลามาก การแสดงไม่ควรใช้เวลานานเกินไป หากการแสดงยืดยาวออกนอกเรื่องหรือมี เหตุการณ์ไม่เหมาสม ผู้สอนต้องตัดบทเพื่อให้การแสดงเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์
___ขั้นที่ 6 การวิเคราะห์อภิปรายผลการแสดง เป็นขั้นสำคัญมากที่จะช่วยให้ผู้แสดงเกิดการเรียนอย่างชัดเจน อาจใช้วิธีสัมภาษณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของผู้แสดงและ ผู้ชม จากนั้นจึงช่วยกันสรุปประเด็นโดยเน้นความรู้สึกภายในและการแสดงบทบาทเป็นกรณีเรียนรู้
5. การเล่นเกม เป็นกิจกรรมการแข่งขันที่มีกติกาสำหรับการเล่น อาจแข่งกับตนเองหรือผู้อื่นก็ได้ เกมมีประโยชนหลายอย่างคือทำให้ได้รับความเพลิดเพลิน ร่าเริง สนุกสนาน ตื่นเต้น กระตือรืนร้น มีระเบียบ อยู่ในกฎเกณฑ์ กติกา รู้จักแก้ปัญหา มีสมาธิ รู้จักการอยู่ร่วมกันกับเพื่อน สามารถอดทนรอคอยจนกว่าจะถึงคราวของตน “การเล่นและเกมไม่เพียงแต่จะสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเชื่อถือเท่านั้ แต่ยังทำให้เกิดความหมายที่บริสุทธิ์ และลึกซึ่งเกี่ยวกับกิจกรรมที่ปกติของชีวิต”
6.การนำการเล่นเกมมาใช้เป็นสื่อในนิทรรศการควรดัดแปลงเกมและวิธีการเล่นให้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกิจกรรมอื่น ๆ ของนิทรรศการ เช่น นิทรรศการทางศิลปวัฒนธรรมอาจใช้เกมพื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่น นิทรรศการทางการศึกษาเหมาะที่จะใช้เกมเกี่ยวกับทักษะ (skill games) ผลของการเล่นเกมประเภทนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น เช่น เกมปริศนาอักษรไขว้ (cross word) หมากรุก จับคู่ ต่อภาพ โดมิโน หรืออาจเป็นเกมที่ไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่นแต่เกี่ยวกับโอกาส (game of change) เช่นเกมเสี่ยงโชคต่าง ๆ ที่ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมที่จะเกิดการเรียนรู้หรือสื่อสารสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการ
7. การแสดงและการละเล่น เป็นสื่อกิจกรรมที่ให้ความเพลิดเพลิน สนุกสนานเรียกความสนใจจากผู้ชมนิทรรศการได้ การแสดงที่ดีควรสอดคล้องและส่งเสริมวัตถุประสงค์ของ การจัดนิทรรศการ การแสดงที่นิยมจัดในนิทรรศการ ได้แก่ ดนตรีสากล คอนเสิร์ต ดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้าน การแสดงพื้นบ้าน รีวิว วิพิธทัศนา ละคร นาฏศิลป์ นาฏลีลา นอกจากนี้ยังมี การแสดงประเภทมหรสพ ซึ่งจัดในนิทรรศการขนาดใหญ่ เช่น ลิเก โขน ลำตัด หนังตะลุง มโนราห์ หมอลำ ส่วนการละเล่นที่นำมาใช้เป็นสื่อสำหรับการจัดนิทรรศการ เช่น การละเล่นของเด็กไทย การละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น
8. การจัดประกวดและการแข่งขันทักษะต่าง ๆ สามารถกระตุ้นความสนใจของผู้เข้าประกวดแข่งขันและผู้ชมนิทรรศการได้ดี ทำให้เกิดการศึกษาค้นคว้าหาเทคนิควิธีการต่าง ๆ ในเรื่องที่ประกวดและแข่งขัน เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถได้รวดเร็ว เนื้อหาของการจัดประกวดและแข่งขันอาจเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการ เช่น การประกวดเรียงความ การเขียนคำขวัญ การวาดภาพ การประกวดพืช ผัก ผลไม้และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ประกวดสัตว์เลี้ยง ประกวดสุขภาพ ประกวดโครงงานและโครงการต่าง ๆ แข่งขันกีฬา แข่งขันดนตรี แข่งขันประดิษฐ์หุ่นยนต์ แข่งขันจัดตู้ปลา แข่งขันทอผ้า แข่งขันตอบปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการนั้น ๆ